ลบ แก้ไข

ประธานอาเซียนใหม่คึกคัก


 
 

        ดูผิวเผินมาเลเซียเป็นประเทศทันสมัยที่สุดในอาเซียน แม้แต่สิงคโปร์ก็สู้ไม่ได้ เนื่องจากมีจำนวนประชากรขนาดกลาง มีสัดส่วนชาติพันธุ์ที่น่าสนใจคือ มาเลย์ จีน อินเดีย และชาติอื่นๆ ประเทศนี้อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นประเทศพหุวัฒนธรรม (multicultural country) ที่อยู่แนวหน้า แต่พอมองลึกข้ามความเจริญทางด้านวัตถุลงไปที่จิตใจและความเป็นอยู่ของประชาชนหลากหลาย จะพบว่ามาเลเซียยังเป็นประเทศก าลังพัฒนา กีดกัน พร้อมความแตกต่างชนบทกับหัวเมืองถึงแม้ว่ารัฐบาลจะตอกย้ำว่า อีกภายในไม่กี่ปีมาเลเซียจะเข้าคลับขององค์กรโอเอซีดีของประเทศที่พัฒนาแล้ว

       ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่กรุงเนปิดอว์ มาเลเซียจะรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนคนใหม่ต่อจากพม่า จึงไม่แปลก มีความคาดหมายจากสมาชิกอาเซียนค่อนข้างสูง ทั้งนี้ต้องถือว่ามาเลเซียเป็นมือเก่า ไม่เหมือนพม่าที่เป็นมือใหม่หัดขับเป็นประธานครั้งแรก ในอดีตทุกครั้งมาเลเซียเป็นประธานมักจะมีอะไรใหม่ๆ และแปลกๆ ให้ครุ่นคิดเสมอ ขณะนี้สมาชิกอาเซียนก าลังครุ่นคิดอยู่ว่าประธานใหม่จะมีวาระสำหรับอาเซียนปีหน้าอย่างไร 

        ครั้งหลังสุดมาเลเซียเป็นประธานในปี 2005 มีสองเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้นมา คือ การจัดตั้งกรอบการประชุมเอเชียตะวันออก หรือ อีเอเอส (East Asia Summit) มาเลเซียมีแผนการเด็ดต้องเชิญรัสเซียเข้ามาเป็นสมาชิกก่อตั้ง ทำให้สมาชิกอาเซียนตกใจกันจ้าละหวั่น อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ คอนโดลีซซาไรซ์ ถึงกับต้องโทรศัพท์คุยกับนายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ บาดาวี เป็นการส่วนตัว ขอร้องอย่ารับรัสเซียเข้าเป็นสมาชิกก่อตั้งอีเอเอสเด็ดขาด ต่อมาหลังถูกแรงกดดันจากต่างประเทศ ทั้ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และอาเซียน ประธานมาเลเซียในสมัยนั้น จึงจำเป็นต้องเชิญรัสเซียเข้าร่วมการประชุมอีเอเอสครั้งแรกในฐานะเป็นแขกรับเชิญพิเศษเป็นประเทศแรก

       อีกเหตุการณ์ส าคัญคือ มาเลเซียได้จัดการประชุมตัวแทนภาคประชาสังคมในอาเซียนเพื่อนำเอาข้อเสนอแนะจากกลุ่มรากหญ้าต่างๆ มารวมกันแล้วส่งต่อให้ผู้น าอาเซียน ปรากฏว่าครั้งแรกทำได้ดี เอาเข้าจริง ไม่มีใครคิดหรือรู้ว่า การพบปะระหว่างผู้แทนภาคประชาสังคมกับผู้น าจะออกหัวออกก้อยอย่างไรบ้าง ในปีหน้ากรอบความคิดนี้จะครบรอบสิบปีถึงแม้ว่าที่ผ่านมานั้นการจัดประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนและผู้แทนจะประสบปัญหามาก เนื่องจากประธานอาเซียนในแต่ละปีมีทัศนคติต่อภาคประชาสังคมที่ไม่เหมือนกัน มาเลเซียจะใช้โอกาสนี้ส่งเสริมประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง

       ช่วงไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นประธานอาเซียน มีการตอบรับภาคประชาสังคมเป็นอย่างดี จึงไม่แปลกที่ตัวแทนเหล่านี้สามารถเปิดประเด็นต่างๆ ได้ ไม่มีใครขัดขวาง พอ บรูไน เวียดนาม สิงคโปร์เป็นประธานการจัดการประชุมเริ่มมีปัญหาขึ้นมาทันที รัฐบาลเหล่านี้ไม่ยอมรับภาคประชาสังคมที่อิสระเพราะถือว่าได้รับการสนับสนุนจากฝรั่ง

       สำหรับประธานใหม่ มาเลเซียได้เตรียมแผนมานานแล้ว อยู่ในช่วงที่มาเลเซียจะนั่งในตำแหน่งคณะมนตรีความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติ และเป็นปีที่ประชาคมอาเซียนจะถึงกำหนดการในวันที่ 31 ธันวาคมมาเลเซียไม่ยอมเปลี่ยนที่กับลาว ซึ่งต้องเป็นประธานเองในปีหน้า แต่ถูกมาเลเซียขอร้องเป็นประธานแทนเสียก่อน

       มาเลเซียต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถให้แก่อาเซียน จะผลักความคิดปรับปรุงการประชุมให้มีจำนวนลดน้อยลง ปีก่อนๆ ตกเฉลี่ยมีการประชุมย่อยต่างๆ เกือบพันครั้ง นอกจากนั้นยังเพิ่มงบประมาณใช้จ่ายมากขึ้นในแต่ละปี และเสริมสร้างความคล่องตัวของการประสานงานระหว่างสามเสาของประชาคมอาเซียนคือ เศรษฐกิจ การเมือง/ความมั่นคง และสังคม/วัฒนธรรม

        มาเลเซียต้องการสร้างภาพลักษณ์ในฐานะประเทศผู้สร้างสันติภาพ (peace maker) ในอาเซียน ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีนาจิบมีบทบาทเด่นในการไกล่เกลี่ยเจรจาสันติภาพในมินดาเนา ฟิลิปปินส์ รวมทั้งการเจรจาสันติภาพในสามจังหวัดภาคใต้ของไทย ถึงแม้ว่ายังไม่ประสบความส าเร็จก็ตาม

      สำหรับการพัวพันกับมหาอ านาจประธานอาเซียนใหม่มีความช านาญพิเศษอยู่แล้ว กรอบความร่วมมือมั่นคงอาเซียนในยุคก่อตั้งอาเซียนในปี 1970 ต้นๆ เช่น เขตสันติภาพที่เป็นกลางและอิสระ เขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ล้วนเป็นฝีมือมาเลเซียทั้งสิ้นเพราะถนัดในการสู้รบตบมือกับต่างประเทศโดยเฉพาะมหาอำนาจทั้งหลายไม่ให้เข้ามาจุ้นจ้านในอาเซียน

ขอขอบคุณที่มา : คม ชัด ลึก
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,206 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean