ลบ
แก้ไข

นักศึกษาร้องตะโกนประท้วงต่อต้านกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ที่ระบุว่าเป็นกฎหมายที่ควบคุมเสรีภาพทางวิชาการ และเรียกร้องให้ตั้งกฎหมายการศึกษาที่เป็นประชาธิปไตย ต่อเนื่องกัน 3 วันตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. ในนครย่างกุ้ง.--Reuters/Minzayar.
นักศึกษามหาวิทยาลัยของพม่าหลายร้อยคนรวมตัวเดินขบวนในนครย่างกุ้งเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันตั้งแต่วันศุกร์ (14) จนถึงวันอาทิตย์ (16) ที่ผ่านมา เพื่อต่อต้านกฎหมายการศึกษาฉบับใหม่ที่พวกเขาระบุว่า เป็นกฎหมายที่ควบคุมเสรีภาพทางวิชาการ
บรรดาผู้ชุมนุมโบกธงสีแดงที่มีรูปนกยูงต่อสู้ พร้อมชูกำปั้น และร้องตะโกนคำประท้วง บางคนถือป้ายที่มีข้อความระบุว่า “เราต้องการเสรีภาพทางวิชาการ” และข้อความที่เขียนว่า “ต่อสู้เพื่อเสรีภาพทางวิชาการ”
การชุมนุมประท้วงครั้งนี้มีขึ้นหลังการประท้วง 2 ครั้งในรอบเดือนที่ผ่านมา เกี่ยวกับเหตุเสียชีวิตของนักข่าวที่ยังคงเป็นปริศนาขณะที่อยู่ภายใต้การควบคุมของทหารเมื่อวันที่ 4 ต.ค. ซึ่งผู้สังเกตการณ์บางคนกล่าวว่า การชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นติดต่อกันนี้ อาจเป็นสัญญาณของความไม่พอใจรัฐบาลที่เพิ่มมากขึ้น
รัฐบาลพม่าระบุว่า กฎหมายการศึกษาขั้นสูงฉบับใหม่จะให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น และอนุญาตให้คณะกรรมการอิสระที่จะประสานการดำเนินงาน ซึ่งนักศึกษาระบุว่าในความเป็นจริงนั้นคณะกรรมการดังกล่าวจะลดความเป็นอิสระ
“นักศึกษากำลังประท้วงกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ เพราะกฎหมายไม่ได้แสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ของประชาชน และนักศึกษา กฎหมายจะเป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพทางวิชาการและการพัฒนาการศึกษา” กอ โก โก ผู้นำจากสหภาพนักศึกษาพม่า หนึ่งในผู้จัดการประท้วง กล่าว
พม่า เคยมีระบบมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มาตรฐานกลับตกลงระหว่างการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษ เมื่อรัฐบาลควบคุมอิสระ และเสรีภาพทางวิชาการ
การประท้วงเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ (14) โดยมีนักศึกษาประมาณ 350 คน รวมตัวกันในนครย่างกุ้ง และเดินขบวนไปตามถนนสายต่างๆ และต่อมา ในวันเสาร์ (15) นักศึกษาได้เดินขบวนไปยังมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง สถานที่ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา พบกับแกนนำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันศุกร์
ส่วนการเดินขบวนประท้วงเมื่อวันอาทิตย์ (16) เริ่มขึ้นจากประตูฝั่งตะวันออกของเจดีย์ชเวดากอง สถานที่นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านเคยกล่าวสุนทรพจน์ในที่สาธารณะเป็นครั้งแรก ต่อหน้าประชาชนกว่า 500,000 คน ในปี 2531 และยังเป็นสถานที่ที่พระสงฆ์เริ่มประท้วงต่อต้านรัฐบาลในปี 2550.
ขอขอบคุณที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
นักศึกษาพม่าประท้วงต้านกฎหมายการศึกษาร้องอิสรภาพทางวิชาการต่อเนื่อง 3 วัน
นักศึกษาร้องตะโกนประท้วงต่อต้านกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ที่ระบุว่าเป็นกฎหมายที่ควบคุมเสรีภาพทางวิชาการ และเรียกร้องให้ตั้งกฎหมายการศึกษาที่เป็นประชาธิปไตย ต่อเนื่องกัน 3 วันตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. ในนครย่างกุ้ง.--Reuters/Minzayar.
นักศึกษามหาวิทยาลัยของพม่าหลายร้อยคนรวมตัวเดินขบวนในนครย่างกุ้งเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันตั้งแต่วันศุกร์ (14) จนถึงวันอาทิตย์ (16) ที่ผ่านมา เพื่อต่อต้านกฎหมายการศึกษาฉบับใหม่ที่พวกเขาระบุว่า เป็นกฎหมายที่ควบคุมเสรีภาพทางวิชาการ
บรรดาผู้ชุมนุมโบกธงสีแดงที่มีรูปนกยูงต่อสู้ พร้อมชูกำปั้น และร้องตะโกนคำประท้วง บางคนถือป้ายที่มีข้อความระบุว่า “เราต้องการเสรีภาพทางวิชาการ” และข้อความที่เขียนว่า “ต่อสู้เพื่อเสรีภาพทางวิชาการ”
การชุมนุมประท้วงครั้งนี้มีขึ้นหลังการประท้วง 2 ครั้งในรอบเดือนที่ผ่านมา เกี่ยวกับเหตุเสียชีวิตของนักข่าวที่ยังคงเป็นปริศนาขณะที่อยู่ภายใต้การควบคุมของทหารเมื่อวันที่ 4 ต.ค. ซึ่งผู้สังเกตการณ์บางคนกล่าวว่า การชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นติดต่อกันนี้ อาจเป็นสัญญาณของความไม่พอใจรัฐบาลที่เพิ่มมากขึ้น
รัฐบาลพม่าระบุว่า กฎหมายการศึกษาขั้นสูงฉบับใหม่จะให้มหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น และอนุญาตให้คณะกรรมการอิสระที่จะประสานการดำเนินงาน ซึ่งนักศึกษาระบุว่าในความเป็นจริงนั้นคณะกรรมการดังกล่าวจะลดความเป็นอิสระ
“นักศึกษากำลังประท้วงกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ เพราะกฎหมายไม่ได้แสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ของประชาชน และนักศึกษา กฎหมายจะเป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพทางวิชาการและการพัฒนาการศึกษา” กอ โก โก ผู้นำจากสหภาพนักศึกษาพม่า หนึ่งในผู้จัดการประท้วง กล่าว
พม่า เคยมีระบบมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มาตรฐานกลับตกลงระหว่างการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษ เมื่อรัฐบาลควบคุมอิสระ และเสรีภาพทางวิชาการ
การประท้วงเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ (14) โดยมีนักศึกษาประมาณ 350 คน รวมตัวกันในนครย่างกุ้ง และเดินขบวนไปตามถนนสายต่างๆ และต่อมา ในวันเสาร์ (15) นักศึกษาได้เดินขบวนไปยังมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง สถานที่ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา พบกับแกนนำเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันศุกร์
ส่วนการเดินขบวนประท้วงเมื่อวันอาทิตย์ (16) เริ่มขึ้นจากประตูฝั่งตะวันออกของเจดีย์ชเวดากอง สถานที่นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านเคยกล่าวสุนทรพจน์ในที่สาธารณะเป็นครั้งแรก ต่อหน้าประชาชนกว่า 500,000 คน ในปี 2531 และยังเป็นสถานที่ที่พระสงฆ์เริ่มประท้วงต่อต้านรัฐบาลในปี 2550.
ขอขอบคุณที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
งานเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเด็กและเยาวชนอาเซียนเพื่อก้าวไปสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์จะจัดขึ้นในวันที่ 28-30 สิงหาคมที่กรุงจาการ์ตาในงานASEANYouthCreativeIndustry...by dogTech
-
ปัญหาหลักอีกประการหนึ่งซึ่งหลายๆ คนกลัวกันมากนั่นคือ ถ้าผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตาม MRA ออกไป หรือเข้ามาทํางานในอาเซียนได้อย่างเสรีจริงๆ แล้วคน เก่งๆ หรือวิชาชีพที่ยังขาดแคลนอยู่ในบางพื้นที่ในไทย เช่น คุณหมอ...by Editor
-
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์นอร์มัล ดึงนักการศึกษา 10 ประเทศอาเซียน จัดงานวิชาการระดับนานาชาติภายใต้ชื่อ มุมมองวิชาการบัณฑิตศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองด้านการศึกษา...by Editor
-
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ริเริ่มโครงการหลักสูตรการฝึกอบรมภาษาอังกฤษในทางปฏิบัติแก่แรงงานในภาคเหนือ เพื่อต้อนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เนื่องจากแรงงายไทยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมการขนส่งสาธารณะ...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต