ลบ แก้ไข

ภาพหาดูได้ยากจากอวกาศ ดาวเทียมนาซ่าถ่ายเจาะนัยน์ตาไต้ฝุนมหึมา “ฮากูปี๊ต”

ภาพหาดูได้ยากจากอวกาศ ดาวเทียมนาซ่าถ่ายเจาะนัยน์ตาไต้ฝุนมหึมา “ฮากูปี๊ต”

ดาวเทียมดวงหนึ่งของนาซ่า (NASA) ถ่ายภาพนี้ตอนบ่ายวันพฤหัสบดี 4 ธ.ค. 2557 เจาะทะลุเข้าไปใน Eye of Storm หรือ "นัยน์ตาแห่งพายุ" ของซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต (Hagupit) ในทะเลแปซิฟิก "อุโมงค์" ที่เห็นในภาพนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางหลายสิบกิโลเมตร มองทะลุลงไปเห็นผืนน้ำทะเลสีครามอยู่เบื้องล่าง องค์การบริหารการบินและการอวกาศของสหรัฐ ยังไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับภาพถ่ายและการถ่ายภาพชิ้นนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี ที่ดาวเทียมสามารถจับภาพทะลุนัยน์ตา ของพายุใหญ่อีกลูกหนึ่งได้. -- ภาพ: องค์การสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ/นาซ่า.

องค์การนาซ่า ได้เผยแพร่ภาพถ่ายจากอวกาศภาพหนึ่งในวันศุกร์ 5 ธ.ค.นี้ เป็นภาพที่ดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและการอวกาศแห่งสหรัฐฯ (NASA) ถ่ายทะลุเข้าไปในช่องว่าง ในศูนย์กลางของไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต (Hagupit) ขณะหมุนติ้วอยู่ในทะเลแปซิฟิก ซึ่งนับเป็นอีกครั้งหนึ่งในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว ที่คนทั่วไปได้เห็นผลงานของเทคโนโลยีชั้นสูง จากการหมุนมาพบกันอย่างลงตัว


ของดาวเทียมลูกหนึ่ง กับพายุขนาดใหญ่มหึมาอีกลูกหนึ่งในเขตร้อนของโลก ทำให้ได้เห็นความน่าอัศจรรย์จากชั้นบรรยากาศ 

       
       ภาพจากดาวเทียมชิ้นล่าสุดนี้ ถ่ายในตอนบ่ายวันพฤหัสบดี 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา ขณะไต้ฝุ่นระดับ 5 กำลังเร่งความเร็วใกล้ศูนย์กลาง อยู่ห่างจากย่านใจกลางหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไปทางทิศวันออกกว่า 400 กิโลเมตร เป็นอีกครั้งหนึ่งที่คนบนพื้นโลกมีโอกาสได้เห็นด้วยสายตาของตนเอง เกี่ยวกับสภาพภายในส่วนที่เรียกว่า Eye of Storm หรือ “นัยน์ตาแห่งพายุ” ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ทางด้านนี้ได้ศึกษาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
       
       นาซ่ายังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับการถ่ายภาพไต้ฝุ่นลูกล่าสุด
       
       วันที่ 6 พ.ย. ปีที่แล้ว ดาวเทียมอะควา (Aqua) ของนาซ่า ได้ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า MODIS หรือ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer ถ่ายภาพสวยงามอีกภาพหนึ่ง ผ่าทะลุนัยต์นาของไต้ฝุ่นไห่แย่น (Haiyan) ในเวลาเที่ยงวันเศษ ขณะซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกนั้นอยู่ห่างหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไปทางทิศตะวันออก 200 กม.เศษ ภาพได้เผยให้เห็นรายละเอียดต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งสายฟ้าแลบแปลบปลาบที่เกิดจากฟ้าผ่าภายในแก่นใจกลางของพายุอีกด้วย
       
       เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะว่าดาวเทียมจะต้องโคจรเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่พอดีๆ และ ทำมุมกับ “นัยน์ตาแห่งพายุ” อย่างเหมาะเจาะเท่านั้นจึงจะมีภาพเช่นนี้ออกมาให้เห็นได้ และ บ่ายวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา ก็เป็นความบังเอิญอย่างลงตัวอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างธรรมชาติกับเทคโนโลยีล้ำหน้าขององค์การนาซ่าสหรัฐฯ
       
       จนถึงบ่ายวันศุกร์ 5 ธ.ค.นี้ ซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต ยังคงความแรงอย่างคงเส้นคงว่า ถึงแม้ว่าจะอ่อนลงจากเมื่อ 24 ขั่วโมงก่อนหน้านี้ ในขณะเคลื่อนที่เร็วกว่าเดิม แต่ก็ยังคงระดับ “ซูเปอร์ไต้ฝุ่น” เอาไว้อย่างครบเครื่อง องค์การพยากรณ์อากาศแห่งฟิปปินส์ หรือ PAGASA ได้ออกจดหมายพยากรณ์อากาศเวลาตอนเที่ยงวันศุกร์ว่า ไต้ฝุ่นจะถึงฝั่งในคืนวันเสาร์ที่ 6 ธ.ค.นี้ ขณะอ่อนกำลังเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4 เร็วกว่าที่เคยพยากรณ์เอาไว้ครั้งก่อนหลายชั่วโมง
       
       ด่านแรกที่่จะต้องเผชิญกับไต้ฝุ่นระดับ 4 ก็คือ เกาะซามาร์ (Samar) ซึ่งเป็นเกาะใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ นอกจากนั้น ทั่วภูมิภาคในเขตวิซายาส (Visayas) หรือหมู่เกาะภาคกลาง จะเริ่มมีฝนตกหนักจนถึงฝนกระจายทั่วไปตั้งแต่เช้าวันเสาร์
       
       ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์แห่งชาติเวียดนาม ได้ออกคำเตือนเมื่อเวลา 15.30 น. วันศุกร์นี้ ให้ชาวเรือระวังคลื่นสูงกับลมแรงตั้งแต่วันเสาร์นี้เช่นกัน และไม่ควรออกจับปลาไกลฝั่ง รวมทั้งแนะนำให้ติดตามการพยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิดเป็นรายชั่วโมง ทั้งนี้ เนื่องจากไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต มีพัฒนาการอย่างผันผวนตลอดเวลา
       
       แผนภูมิพยากรณ์ชิ้นล่าสุดที่ออกเมื่อเวลา 15.32 น. ได้แสดงให้เห็นพายุที่คาดว่าจะเชิดหัวขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อยในอีก 2 วันข้างหน้า แต่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์กลางของเวียดนามยังไม่ได้แสดงปลายทางสุดท้ายของไต่ฝุ่นฮากูปี๊ต ขณะที่สำนักพยากรณ์อากาศชั้นนำแห่งอื่นๆ ในย่านนี้ ตือ ทั้งในฮ่องกง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และไกลออกไปจนถึงศูนย์ร่ววมเตือนภัยไต้ฝุ่นของสหรัฐฯ (Joint Typhoon Warning Center) ในนครโฮโนลูลู ต่างก็ลากเส้นตรงล่วงหน้า ไปจนถึงย่านตะวันออกทะเลจีนใต้ แสดงแนวเคลื่อนตัวของไต้ฝุ่นฮากูปี๊ตต้นสัปดาห์หน้า
       
       “ในระยะ 48-72 ชั่วโมงข้างหน้านี้ พายุอาจจะเคลื่อนตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ด้วยความเร็วราว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความเป็นได้อย่างมากที่ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต จะเคลื่อนเข้าสู่ทะเลตะวันออก (ทะเลจีนใต้) ในขณะที่กำลังพัฒนาไปอย่างสลับซับซ้อน .. จึงควรติดตามการพยากรณ์อากาศต่อไปอย่างใกล้ชิด” ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ในกรุงฮานอยกล่าว.
       .
       จนถึงบ่ายวันศุกร์ 5 ธ.ค.2557 ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต (Hagupit) ยังรักษาความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางในระดับ 5 ได้อย่างคงเส้นคงวา สำนักงานอุตุนิยมวิทยาทั้งในญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และไกลออกไปจนถึงเกาะฮาวาย ต่างเผยแพร่ตำแหน่งล่าสุดของซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากูปี๊ต แสดงให้เห็นพายุลูกใหญ่หมุนเคว้งดึงดูดมวลไอน้ำ จนป่วนไปทั่วย่านแปซิฟิกตะวันตก หอสังเกตุการณ์ฮ่องกง (Hong Kong Obeservatory) รวบรวมเส้นกราฟล่าสุดจากสำนักต่างๆ แสดงให้เห็น ไต้ฝุ่นลูกนี้ทะลุเข้าทะเลจีนใต้ต้นสัปดาห์หน้า ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฯ ในกรุงฮานอยยังไม่แน่ใจ เพียงแต่พูดถึงความเป็นไปเท่านั้น..
ภาพหาดูได้ยากจากอวกาศ ดาวเทียมนาซ่าถ่ายเจาะนัยน์ตาไต้ฝุนมหึมา “ฮากูปี๊ต”
ภาพหาดูได้ยากจากอวกาศ ดาวเทียมนาซ่าถ่ายเจาะนัยน์ตาไต้ฝุนมหึมา “ฮากูปี๊ต”
ภาพหาดูได้ยากจากอวกาศ ดาวเทียมนาซ่าถ่ายเจาะนัยน์ตาไต้ฝุนมหึมา “ฮากูปี๊ต”

ภาพหาดูได้ยากจากอวกาศ ดาวเทียมนาซ่าถ่ายเจาะนัยน์ตาไต้ฝุนมหึมา “ฮากูปี๊ต”
ภาพหาดูได้ยากจากอวกาศ ดาวเทียมนาซ่าถ่ายเจาะนัยน์ตาไต้ฝุนมหึมา “ฮากูปี๊ต”
ภาพหาดูได้ยากจากอวกาศ ดาวเทียมนาซ่าถ่ายเจาะนัยน์ตาไต้ฝุนมหึมา “ฮากูปี๊ต”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,150 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ