ลบ แก้ไข

ประชาคมอาเซียนหลังปี 2015 (2)

ประชาคมอาเซียนหลังปี 201


     ดังที่ได้ทราบกันแล้วว่า กลุ่มอาเซียนจะผนึกประสานกันเป็นประชาคมอาเซียนภายในสิ้นปี 2558 คือสิ้นปีหน้า แต่การรวมตัวกันเช่นว่านั้นก็จะยังไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันที หลายสิ่งหลายอย่างจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป การเป็นประชาคมนั้นมีลักษณะเป็นกระบวนการ (process) มากว่าจะเป็นผลสำเร็จ (product) ที่ปรากฏเห็นทันทีทันใด
 

    เมื่อสิ้นสุดกำหนดการเข้าสู่เป็นประชาคมแล้ว อาเซียนจึงต้องกำหนดแนวทาง ก้าวต่อไปว่า จะดำเนินการหรือพัฒนากันต่อไปอย่างไร ดังที่ได้อธิบายมาแล้วในครั้งก่อนว่า กลุ่มอาเซียนกำลังจัดทำวิสัยทัศน์หลังปี 2558 เพื่อกำหนดทิศทางและจังหวะก้าวที่ อาเซียนจะต้องพัฒนาต่อไปหลังจากรวมกันเป็นประชาคมแล้ว สำหรับรายละเอียด ของหลักการพื้นฐานที่ได้มีการตกลงกันระหว่างที่มีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่กรุงเนปิดอว์ เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ในแต่ละเสาหลักนั้นมีดังนี้

     ทางด้านการเมือง กลุ่มอาเซียนจะยึดมั่นในหลักการพื้นฐาน กฎบัตรอาเซียน สัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอกสารพื้นฐานในการ ก่อตั้งอาเซียนทั้งหมด รวมตลอดไปถึงหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ และจารีตประเพณีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกอาเซียน จะส่งเสริมและให้การปกป้อง สิทธิมนุษยชน ธรรมาภิบาล นิติรัฐ ต่อต้านคอร์รัปชั่นและส่งเสริมประชาธิปไตย

      ทางด้านความมั่นคง กลุ่มอาเซียนจะรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และที่อื่นๆ จะพยายามทำให้ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่ปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธมหาประลัยทั้งหลายให้จงได้ 

       อาเซียนจะส่งเสริมแนวทางการแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยวิธีสันติ แสวงหากลไกในการไขข้อขัดแย้งทั้งในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค ส่งเสริมความสามัคคีกลมเกลียว ความเป็นเอกภาพในอาเซียนส่งเสริมสมรรถนะและศักยภาพ ความพร้อม ของกลุ่มตามแนวทางความมั่นคงแบบรอบด้าน สร้างความแข็งแกร่งให้กับความมั่นคงทางทะเล ความร่วมมือทางทะเล ส่งเสริมความไว้วางใจระหว่างประเทศสมาชิกและหุ้นส่วนนอกกลุ่ม ส่งเสริมคุณค่าแห่งสันติภาพ มิตรภาพ เอกภาพ เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมที่ประชาชนอยู่ได้อย่างสันติ สำหรับความสัมพันธ์กับโลกภายนอกนั้นอาเซียนจะสร้างความสัมพันธ์โดย อาศัยอาเซียนเป็นแกนกลาง (Asean centrality) บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วน ที่เท่าเทียม และเห็นแก่ผลประโยชน์ร่วมกันเป็นที่ตั้ง อาเซียนจะต้องแสวงหาความ ไว้เนื้อเชื่อใจ ความไว้วางใจกับหุ้นส่วนนอกกลุ่ม อาเซียนจะเป็นกลุ่มที่มองออกสู่ภายนอก ขยายความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนนอกกลุ่มให้มาก

   ในขณะที่กลุ่มอาเซียนก็จะส่งเสริมความเป็นเอกภาพ ความเป็นกลาง ความเป็นศูนย์กลาง และแสวงหาบท
บาทในการสร้างความสัมพันธ์ กับหุ้นส่วนนอกกลุ่มอาเซียน อาเซียนจะทำงานบนพื้นฐานของความเปิดกว้าง โปร่งใส มีส่วนร่วม และหลักกฎหมายเพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคั่งร่วมกันกับโลกภายนอก อาเซียนจะร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหุ้นส่วนในกรอบความร่วมมือต่างๆ ที่มีอาเซียน เป็นแกนกลาง เช่น อาเซียนบวกสาม East Asia Summit, ARF เป็นต้น

    ทางด้านประชาคมเศรษฐกิจหลังปี 2558 ไปแล้วอาเซียนจะเป็นประชาคมที่มีการผสานหลอมรวมเศรษฐกิจกันมากขึ้น เป็นกลุ่มทีมีการแข่งขัน มีนวัตกรรม มีพลวัต อาเซียนจะหลอมรวมกันมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และให้สามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้ว่าจะเกิดวิกฤติจากเศรษฐกิจโลก ส่งเสริมให้เกิดความเติบโตอย่างยั่งยืนโดยการใช้เทคโนโลยีรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความเท่าเทียม ลดช่องว่างการพัฒนา ลดทอนความยากจน ส่งเสริมรายได้ของประเทศสมาชิกที่ยังอยู่ในระดับต่ าหรือ ระดับกลางต่ำ ให้มีรายได้ที่สูงขึ้น

     นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อหนุนส่งผลิตภาพ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมการเชื่อมโยงในภูมิภาคโดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงกันได้ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงทางสถาบันและการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนต่อประชาชน สร้างเศรษฐกิจอาเซียนให้มีพลวัต สามารถที่จะปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้ รักษาบทบาทของอาเซียนให้ดำรงบทบาทนำในเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกให้ได้ และส่งเสริมให้อาเซียนมีบทบาทในการบริหารเศรษฐกิจโลก

     ทางด้านสังคม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นเสาหลักส าคัญอีกเสาหนึ่งของความเป็นประชาคมอาเซียน แต่เป็นด้านที่มีความเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรมไม่มากนัก ภายหลังจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว กลุ่มอาเซียนวางแนวทางในการก้าวต่อไป ทางด้านนี้คือ ส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีส่วนร่วม รับผิดชอบทางสังคม ผ่านกลไกต่างๆ ของอาเซียนเพื่อผลประโยชน์ของทุกฝ่าย

     ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสและเข้าถึงสิ่งต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการสร้างสมรรถภาพ ความสามารถ ของประชาชนเพื่อให้สามารถตอบสนอง รับมือ และปรับตัวให้เท่าทันกับความท้าทายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งเสริมให้เกิดการคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งใหม่และ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประชาคมอาเซียนอย่างกระตือรือร้น อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้นเป็นเพียงองค์ประกอบและหลักการพื้นฐาน ที่คณะท างานเจ้าที่อาวุโสของกลุ่มอาเซียนได้ร่างขึ้นมา จะเห็นได้ว่ายังไม่มีอะไรแปลกใหม่หรือแตกต่างไปจากแนวทางที่กลุ่มอาเซียนได้ดำเนินการมาแล้ว เพียงแต่มีข้อเสนอว่า ให้ทำมากขึ้นและเข้มข้นมากขึ้นเท่านั้น

      ดังนั้น เป็นหน้าที่ของคณะทำงานที่ผู้นำได้เสนอระหว่างการประชุมสุดยอด ให้จัดตั้งขึ้นมาจะต้องพัฒนาองค์ประกอบและหลักการเหล่านี้ให้เข้มข้นมากขึ้น หาทางนำเสนออย่างเป็นรูปธรรมในแผนปฏิบัติการซึ่งจะต้องแนบมาพร้อมกับ คำประกาศวิสัยทัศน์หลังปี 2015 ในการประชุมสุดยอดอาเซียนปลายปีหน้าที่ มาเลเซีย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรุงเทพธุรกิจ
 
 
 

Editor
ชม 3,774 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean