ลบ
แก้ไข
สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทยร่วมกับพันธมิตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติสปป.ลาว จัดเสวนาครั้งที่ 1 "วิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมืองกับการก้าวสู่ AEC" เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาถือเป็นหนึ่งในบทบาทเตรียมความพร้อมแบบรู้เขารู้เรา เพื่อจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ
ผังเมืองกับการก้าวสู่ AEC ลาวจะมี 11 เขต ศก.พิเศษ 'ไทย' ทําอะไรอยู่

สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทยร่วมกับพันธมิตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติสปป.ลาว จัดเสวนาครั้งที่ 1 "วิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมืองกับการก้าวสู่ AEC" เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาถือเป็นหนึ่งในบทบาทเตรียมความพร้อมแบบรู้เขารู้เรา เพื่อจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ
AEC ไปด้วยกัน
"ภราเดช พยัฆวิเชียร" นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย เปิดประเด็นว่า ยุคปัจจุบัน แนวโน้มเศรษฐกิจการเมืองที่เปลี่ยนแปลง ทําให้ความเจริญของเมืองต้องขยับตัวตาม โดยเฉพาะการ นับถอยหลังไปสู่ AEC จะเป็นแรงหนุนส่งให้ภูมิภาคเติบโตแบบพลิกโฉมหน้า แต่เดิมกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลาง อนาคตต่อไป ศูนย์กลางจะกระจายไปตามหัวเมืองรองหรือ Secondary City เพราะจะเป็นเมืองหน้าด่านที่เปิดประตูไทยสู่สากล
หนึ่งในบทบาทความร่วมมือด้านวิชาการก็คือร่วมกับ สปป.ลาวศึกษาการจัดทําผังเมืองซึ่งกันและกัน และแน่นอนว่าจะขยายผลต่อยอดไปสู่ความร่วมมือกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ อาทิเวียดนาม
"ผศ.ดาสัก อุเทนทะปันยา" คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย แห่งชาติสปป.ลาวบรรยายบนเวทีว่า การวางแผนเมืองสมัยใหม่ วางแผนตั้งแต่ระดับจุลภาคไปถึงมหภาค นโยบายของลาวคือสร้างบ้านเล็กเป็นบ้านใหญ่ จากบ้านใหญ่มาเป็นชุมชน มหา'ลัยได้ช่วยเหลือหลายท้องถิ่นในประเทศวางแผนออกแบบผังเมือง การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจอาเซียน เพราะเราอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งภัยธรรมชาติโรคระบาดและอาเซียนกําลังก้าวสู่การเชื่อมโยง AEC เป็นโอกาสและสิ่งท้าทายของสมาชิก จะมีการขยายตัวกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งการศึกษาผังเมือง การพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่ง
หนึ่งในบทบาทความร่วมมือด้านวิชาการก็คือร่วมกับ สปป.ลาวศึกษาการจัดทําผังเมืองซึ่งกันและกัน และแน่นอนว่าจะขยายผลต่อยอดไปสู่ความร่วมมือกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ อาทิเวียดนาม
"ผศ.ดาสัก อุเทนทะปันยา" คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย แห่งชาติสปป.ลาวบรรยายบนเวทีว่า การวางแผนเมืองสมัยใหม่ วางแผนตั้งแต่ระดับจุลภาคไปถึงมหภาค นโยบายของลาวคือสร้างบ้านเล็กเป็นบ้านใหญ่ จากบ้านใหญ่มาเป็นชุมชน มหา'ลัยได้ช่วยเหลือหลายท้องถิ่นในประเทศวางแผนออกแบบผังเมือง การเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจอาเซียน เพราะเราอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งภัยธรรมชาติโรคระบาดและอาเซียนกําลังก้าวสู่การเชื่อมโยง AEC เป็นโอกาสและสิ่งท้าทายของสมาชิก จะมีการขยายตัวกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งการศึกษาผังเมือง การพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่ง
จะต้องคํานึงในการรองรับอนาคต"
ข้อมูลที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ "อ.ดาสัก" กล่าวว่า สปป.ลาว มีนโยบายลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 11 แห่งทั่วประเทศ แต่ก็ไม่ใช่ทุกแห่งที่สถาบันการศึกษาจะได้เข้าไปมีส่วนร่วม การพัฒนาประเทศจะทําแบบ State Policy ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว มีความเห็นว่าน่าจะมีความร่วมมือหลายๆ อย่าง ทั้งสถาบันการศึกษาไปร่วมวางแผนมากกว่านี้ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่แขวงคําม่วน ท่าหลวง (ไจก้าออกแบบให้) บ่อเป็ง (ลงทุนจากจีน) ฯลฯ
"อ.เจตกําจร พรหมโยธี" จากสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย เสวนาในหัวข้อ "ทิศทางการพัฒนาเมืองและชุมชนในบริบทของ AEC" ว่าอาเซียนมี 10 ประเทศแต่มี 7 ประเทศที่พรมแดนติดต่อกันคือเมียนมาร์ไทยลาวกัมพูชา เวียดนามมาเลเซียสิงคโปร์ทําให้พัฒนาระบบถนนและระบบรางเชื่อมโยงถึงกัน
"อ.เจตกําจร พรหมโยธี" จากสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย เสวนาในหัวข้อ "ทิศทางการพัฒนาเมืองและชุมชนในบริบทของ AEC" ว่าอาเซียนมี 10 ประเทศแต่มี 7 ประเทศที่พรมแดนติดต่อกันคือเมียนมาร์ไทยลาวกัมพูชา เวียดนามมาเลเซียสิงคโปร์ทําให้พัฒนาระบบถนนและระบบรางเชื่อมโยงถึงกัน
จุดเน้นอยู่ที่ "ระบบราง" ไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่กรณีทางคู่จะเริ่มจากวิ่งด้วยความเร็ว 150 กม./ชม. จากนั้นค่อยยกระดับความเร็ว 250 กม./ชม. ถ้าพัฒนาได้จริง เมืองที่เกาะตามแนวรถไฟเหล่านี้จะมีการเติบโตค่อนข้างมาก และอาจจะมี "เมืองใหม่" ตามแนวสถานีรถไฟเกิดขึ้นมากมาย เป็นการพัฒนาที่เรียกว่า TOD (Train Oriented Development) เมื่อถึงตอนนั้น ระบบรางไม่ได้หยุดแค่ประเทศไทย แต่จะเชื่อมต่อทั้งอาเซียน โยงไปถึงคุนหมิงในจีน ข้ามเข้าเมียนมาร์
"แนวโน้มอาจจะเกิดชุมชนใหม่ที่เรียกว่าเมืองคอมแพ็กต์ซิตี้เพราะระบบเมืองในอนาคตเชื่อว่าจะเป็นเมืองคอมแพ็กต์ตัวอย่าง เราออกแบบเมืองใหม่ คอนเซ็ปต์เมืองคือประชากร 1-2 แสนคนระยะทางจากพื้นที่หนาแน่น คนสามารถเดินเท้าจากเหนือถึงใต้ใช้เวลาครึ่ง ชม. หรือขับรถถึงกันได้ภายใน 15 นาทีถ้าออกแบบได้อย่างนี้พื้นที่โดยรอบจะกันเป็น "กรีนแอเรีย" คนในเมืองมาใช้ได้อนาคตถ้าจะมีการขยายก็จะมีพื้นที่รองรับได้..."
"อ.วิชัย ตันตราธิวุฒิ" อุปนายกคนที่ 1 สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย นําเสนอข้อแนะนําว่าโอกาสของเออีซีอย่ามองแค่ระบบถนนและระบบราง ให้มองถึงระบบท่าเรือด้วย เพราะแนวคิดอีสต์-เวสต์คอร์ริดอร์ในภาพใหญ่ก็คือการเชื่อมท่าเรือ 2 แห่ง ดานัง (เวียดนาม)-ทวาย (เมียนมาร์) แนวเส้นทางเชื่อมสองท่าเรือจะทําให้เกิดชุมชนสําคัญในอนาคต
"ผศ.ดร.สักรินทร์แซ่ภู่" อาจารย์คณะ สถาปัตย์มมส. เปิดมุมคิดน่าสนใจว่า ก่อนจะเปิดเออีซีทั้ง 10 ประเทศมีโจทย์การออกแบบเมืองหรือเออร์เบินดีไซน์ทั้งในไทย เมียนมาร์สปป.ลาว สิงคโปร์ฯลฯ จึงมองว่าอาเซียนเป็นเรื่องใหญ่ นาทีนี้เป็นโอกาสดีที่จะสร้าง "อินโดไชน่าดีไซน์เออร์เบิน" ในขณะทีีสิ่งพึงระวังคือระบบการศึกษาที่ฝังรากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองมานาน
สุดท้าย "ดร.เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี" สรุปได้อย่างน่าฟังว่า อึดอัดใจมากที่เวลากรมโยธาฯพูดถึงผังเมืองจะพูดถึงกรุงเทพฯอย่างเดียว เวลาพูดเรื่องการใช้พื้นที่ (สเปซ) ก็มุ่งไปที่ชายแดน โดยที่ จิ๊กซอว์ภาพใหญ่นั้น ประเทศไทยยังไม่ได้วางแม่บทผังเมืองของแต่ละเมืองเลย ในที่สุดชายแดนแต่ละแห่งก็จะแข่งขันกันเองและแข่งขันกับเพื่อนบ้าน ทั้ง ๆ ที่การเปิดเออีซีก็เพื่อให้สลายชายแดน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
นางสาวมัณฑนา ภูธรารักษ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนราธิวาส กล่าวว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนราธิวาส ร่วมกับนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส...by dogTech
-
นางอภิรดีตันตราภรณ์รมช.พาณิชย์เปิดเผยว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการประชุมอย่าง ไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 21 ระหว่าง วันที่ 28 ก.พ.-1 มี.ค. ที่มาเลเซีย เพื่อหารือประเด็น หลักๆ ได้แก่...by Editor
-
กองทัพประชาชนลาวได้จัดพิธีสวนสนามของหน่วยทหารจำนวนมากในวันพฤหัสบดี 16 ม.ค.ที่ผ่านมา เฉลิมฉลอง 65 ปีการก่อตั้ง ซึ่งตรงกับวันที่ 20 ม.ค.นี้ พล.ท.จูมมะลี ไซยะสอน เลขาธิการใหญ่พรรคประชาชนปฏิวัติลาวและประธานประเทศ...by Editor Bow
-
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรีจัดกิจกรรมเปิดประตูสู่อาเซียน การส่งเสริมการให้บริการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขยาดย่อมอาเซียน (ASEAN SMEs Service Center) จังหวัดกาญจนบุรี...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต