ลบ
แก้ไข
1 แถบ 1 เส้นทาง
หลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 18 ในเดือน พ.ย. 2012 และนายสีจิ้นผิงได้ขึ้นมาดํารงตําแหน่งผู้นํารุ่นที่ 5 ของประเทศจีน การปฏิรูปประเทศถือเป็นเป้าหมายหลักของคณะผู้บริหารประเทศในชุดนี้เมื่อเวลาผ่านไปเข้าสู่ปีที่ 2 ของการ ทํางานของคณะผู้บริหารชุดนี้แนวทางปฏิรูปประเทศไปสู่ "ความปกติในรูปแบบใหม่ หรือ New Normal" ก็ถูกประกาศขึ้นเมื่อเดือน พ.ค. 2014
โดยต่อไปนี้จีนจะมีอัตราการเติบโตที่อาจจะลดลงไม่ร้อนแรง เหมือนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่จะเน้นการเติบโตที่ยั่งยืน และทุกภาคส่วนจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Sustainable and Inclusive Economic Growth) รวมทั้งจีนจะไม่เติบโตอย่างโดดเดี่ยว แต่จะมีพันธมิตรกับประเทศต่างๆ ที่จะสร้างการบูรณาการภูมิภาคแบบที่ทุกประเทศได้ผลประโยชน์ร่วมกัน (Inclusive Regional Integration)
จีนจะวางตําแหน่งตนเองเป็นแกนหลักในห่วงโซ่คุณภาพในด้านการผลิตระดับโลก (Global Value Chain) และเพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปของจีนเกิดขึ้น ยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง ที่ภาษาจีนเรียกว่า อี่-ไต้-อี่-ลู่ หรือ One Belt, One Road) จึงถูกนํามาใช้
โดย "1 แถบ (One Belt)" หมายถึง ความพยายามของจีนในการสร้างความเชื่อมโยงตามแนวเส้นทางการค้าในสมัยโบราณที่เรียกว่า เส้นทางสายไหม (Silk Road, Silk Route) ซึ่งเชื่อมโยงเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน เข้ากับเอเชียใต้เอเชียกลางตะวันออกกลาง ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และไปสิ้นสุดเส้นทางที่ทวีปยุโรป
ในส่วนของประเทศจีน หนานหนิง เมืองหลวงของเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วง หรือมณฑลกว่างซีได้ถูกวางตําแหน่ง ให้เป็นปากประตูที่จะเชื่อมโยงจีนกับอาเซียน และเมืองเฉิงตูมณฑลเสฉวน ก็ถูกวางตําแหน่งให้เป็นเมืองศูนย์กลางในการเชื่อมโยงภูมิภาคทางตะวันตกและทางใต้ของจีนเข้ากับเอเชียกลางและตะวันออกกลาง
แน่นอนว่าหนึ่งในโครงการที่เริ่มต้นเกิดขึ้นแล้ว อาทิคณะรัฐมนตรีของประเทศไทยเห็นชอบให้เกิดความร่วมมือระหว่างไทย-จีนในการพัฒนาระบบรถไฟแบบ Standard Gauge ที่มีความกว้างของราง 1.435 เมตร ซึ่งจะเชื่อมต่อ จ.หนองคาย ของประเทศลงสู่อ่าวไทย มหาสมุทรแปซิฟิกที่มาบตาพุด จ.ระยอง และในอนาคตเส้นทางนี้อาจจะเชื่อมต่อเข้ากับระบบรถไฟใน สปป.ลาว ที่จีนก็อยากเข้ามาลงทุนอย่างยิ่ง หรือสุดฟากอีกด้านเส้นทางสายไหมเส้นนี้จีนก็ได้สร้างความร่วมมือกับตุรกีไปแล้วในการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมเมือง Ankara ไปสู่ Istanbul ซึ่งเป็นปากประตูสู่ทวีปยุโรป
ขณะที่ "1 เส้นทาง (One Road)" หมายถึงความเชื่อมโยงทางทะเลที่หลายๆ สื่อนิยมเรียกกันว่า 21st Century Maritime Silk Road ซึ่งจะเชื่อมเส้นทางการเดินเรือหลักของโลกจากญี่ปุ่น เกาหลีสู่เมืองท่าสําคัญๆ ของประเทศจีนทางตะวันออก ลงสู่ทะเลจีนใต้ช่องแคบมะละกา ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงการค้าจากมหาสมุทรแปซิฟิกสู่มหาสมุทรอินเดียนั่นเอง
เป้าหมายของจีนยังหมายถึงเมืองท่าสําคัญๆ ในตะวันออกกลาง และในฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาอีกด้วย โดยจีนตั้งงบประมาณลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ไว้แล้วกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันจีนได้ทําความร่วมมือแล้วกับรัฐบาลศรีลังกาในการฟื้นฟูโครงการ Colombo Port City เพื่อให้ศรีลังกากลายเป็นจุดพักเพื่อขนถ่ายสินค้าที่สําคัญตรงจุดกึ่งกลางระหว่างสิงคโปร์และดูไบ จีนกับมัลดีฟส์ได้สร้างความร่วมมือระหว่างกันในการปรับปรุงท่าอากาศยานนานาชาติรวมทั้งสร้างสะพาน "China Bridge" ที่จะเชื่อมเกาะที่เป็นที่ตั้งของสนามบินกับเกาะ Male ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมัลดีฟส์
แน่นอนว่าสําหรับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ที่ยังคุกรุ่นอยู่ ตลอดเวลา ความร่วมมือระหว่างจีนเวียดนาม ฟิลิปปินส์ในการพัฒนาการใช้พื้นที่ทะเลจีนใต้ร่วมกันคงยังเกิดขึ้นได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อมีการแทรกแซงจากมหาอํานาจภายนอกพื้นที่ แต่สําหรับประเทศสมาชิกอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา มาเลเซียอินโดนีเซีย เองต่างก็ตั้งความหวังกับโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ 1 เส้นทางนี้อย่างมาก และแน่นอนว่าฝ่ายไทยเอง หลายๆ คนก็กําลังจ้องจับตาอยู่เช่นกันในความเป็นไปได้ของจีนที่จะเข้ามาเป็นผู้ลงทุนหลักในโครงการขนาดใหญ่ ที่จะเชื่อมโยงมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โพสต์ทูเดย์ (ดร.ปิติศรีแสงนาม ผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : โพสต์ทูเดย์ (ดร.ปิติศรีแสงนาม ผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
เว็บไซต์บิสิเนสอินไซเดอร์ (BusinessInsider.Com ) ในสหรัฐฯ ได้จัดอันดับ Extreme Menu หรือ 18 เมนูสุดขั้ว ที่ผู้ที่อาศัยอยู่ในซีกโลกตะวันตกที่มักช่างเลือก ไม่ควรนำขึ้นโต๊ะอย่างเด็ดขาด โดยมีเมนู "หมาย่าง "...by Editor Bow
-
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ร่วมกับ ศูนย์อาเซียน จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จัดนิทรรศการและงานสัมมนา "ไทย-จีน 4 ทศวรรษความสัมพันธ์จากการค้าและวัฒนธรรม สู่เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมี นายสมชาย...by dogTech
-
1. 30 บาท รักษาทุกโลก ถือเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่มีโอกาสได้รับการ รักษาที่ดี เพราะคนกลุ่มนี้มักจะมีเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่แพงแสนแพง อย่างเช่น ผ่าไส้ติ่ง โดยปกติจะมีค่าใช้จ่ายหลายหมื่นบาท...by Editor Bow
-
จีนจะมีบทบาทมากที่สุดชาติหนึ่ง ในประเทศอาเซียน เพราะไม่มีชาติไหนเข้ามาอาศัยในประเทศอาเซียนได้มากเท่าจีน ทำให้จีน มีการเติบโตด้านเศรษฐกิจมาก และคนจีนกำลลังสนใจจะเข้ามาลงทุนในด้านการเกษตร อาหาร เรียบเรียงโดย KERO...by Editor Bow
เรื่องมาใหม่
คำฮิต