ลบ
แก้ไข
'จีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น'มุ่งสู่อาเซียนขยายอิทธิพล ส่งเสริมการค้า
การสร้างความเข้มแข็งให้กับภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ถือเป็นจุดสําคัญในการก้าวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานโลก และทําให้อาเซียนดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งสิ่งจําเป็นที่อาเซียนต้องทําคือมองออกไปข้างนอกกลุ่มที่มากกว่า "เออีซี"
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วม "การประชุมสุดยอดอาเซียน-
สาธารณรัฐเกาหลี" สมัยพิเศษ เพื่อฉลองครบรอบความสัมพันธ์ 25 ปีณ นครปูซาน เกาหลีใต้ระหว่างวันที่ 10-
12 ธันวาคม
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหารือระหว่างผู้นําเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือ
และการจัดการกับภัยพิบัติเป็นต้น โดยในการประชุมครั้งนี้จะเป็นการหารือด้วยวิสัยทัศน์ของหุ้นส่วนเชิง
ยุทธศาสตร์อาเซียน-เกาหลีใต้ภายใต้กรอบแนวคิด "สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ นํามาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง และ
แบ่งปันความสุข"
การลงทุนจากเกาหลีใต้มาเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน คิดเป็นมูลค่าราว 3,800 ล้านดอลลาร์อีกทั้งปีที่ผ่านมายังมี
ชาวเกาหลีใต้ที่เดินทาง มาท่องเที่ยวในอาเซียนกว่า 6.5 ล้านคน โดยอาเซียนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับ ความ
นิยมสูงสุด ทั้งนี้อาเซียนและเกาหลีใต้ตั้งเป้าหมายมูลค่าการค้าระหว่างกันที่ 150,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี
2558 และ 200,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2563
หลังการประชุมสุดยอดอาเซียนเกาหลีใต้ยังมีหนึ่งการประชุมสําคัญส่งท้ายปี 2557 คือ การประชุมสุดยอด
อนุภูมิภาคลุ่ม แม่น้ําโขง ครั้งที่ 5 (จีเอ็มเอส) โดยไทยเป็น เจ้าภาพ ในวันที่ 19-20 ธันวาคมที่จะถึงนี้โดยมีเมียน
เส้นทางคมนาคมจากภาคเหนือสู่ภาคใต้และภาคตะวันออกสู่ตะวันตก อีกทั้งยังเพิ่มศักยภาพการใช้ถนน
หมายเลข 8-12 และถนนสาย R3A ในการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคให้มากขึ้น ซึ่งความสําคัญอยู่ที่การ
ปรับปรุงกฎระเบียบในการขนส่งสินค้าให้สะดวกขึ้น หรือ One Stop Inspection เพื่อลดขั้นตอนศุลกากรให้
คล่องตัว
การประชุมครั้งนี้เตรียมพิจารณาโครงการราว 92 แห่งที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากทั้งหมด 215
โครงการ ในงบประมาณทั้งสิ้น 5.15 หมื่นล้านดอลลาร์โดยการลงทุนส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาใน 10 ด้าน ได้แก่
1.คมนาคม 2.พลังงาน 3.เกษตร 4.สิ่งแวดล้อม 5.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6.การพัฒนาสู่ความเป็นเมือง 7.การ
ท่องเที่ยว 8.การส่งเสริมการค้า 9.การสื่อสาร และ 10.เทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลไทยยังเตรียมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือก่อสร้าง รถไฟทางคู่ขนาด 1.435
เมตร ความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางหนองคายนครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734
กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอยกรุงเทพฯ ระยะทาง 133 กิโลเมตร กับจีน ในระหว่างการประชุมครั้งนี้จะส่งผล
ใน ทิศทางบวก จากอานิสงส์ของความสัมพันธ์ไทย-จีนที่มีมายาวนาน และจะครบรอบ 40 ปีในปี 2558 นี้
ด้วยโอกาสและความท้าทายต่อภูมิภาคอาเซียนที่กําลังเผชิญ เสมือนเป็นแรง ผลักดันให้ก้าวสู่เวทีการค้าโลกได้แต่พันธมิตรที่เข้ามาขยายการค้าในเอเชียอาคเนย์อย่างจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่นยังมีความขัดแย้งคุกรุ่นกันอยู่ หากอาเซียน ไม่แข็งแกร่งและเป็นหนึ่งเดียวกันเท่าที่ควร อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของความบาดหมางของชาติเอเชียตะวันออก และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในอนาคต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ประเทศไทยได้เน้นความจำเป็นที่อาเซียนและคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(AICHR)จำเป็นจะต้องมุ่งเน้นไปที่การต่อสู้กับปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานข้ามชาติ...by dogTech
-
-
ประเทศทั้ง 10 ประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจาทั้ง 3 ประเทศได้มีการกระชับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด...by dogTech
-
เพลงอาเซียนรวมใจ เนื้อเพลงอาเซียนร่วมใจ อาเซียน 10 ประเทศ เป็นบทเพลงที่เล่าเรื่องราวต่างๆ ของชาวอาเซียน ที่กำลังจะเปิดในปี 2558 หรือ 2015 นี้ เรียบเรียงโดย KERO uAsean.com เนื้อหาอ้างอิงจาก อาเซียนร่วมใจ...by Editor Bow
เรื่องมาใหม่
คำฮิต