ลบ
แก้ไข
อีกแค่ไม่กี่อึดใจชาติสมาชิก "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" ก็จะเข้าสู่การเป็น"ประชาคมอาเซียน" หรือ "เอซี" แล้ว ตามกําหนดคือวันที่31 ธ.ค. 2558 แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังมีคนไม่เข้าใจว่า "อาเซียน"ต่างจาก "ประชาคมอาเซียน" อย่างไร
โค้งสุดท้ายเตรียมพร้อมสู่ 'เออีซี'
อีกแค่ไม่กี่อึดใจชาติสมาชิก "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" ก็จะเข้าสู่การเป็น"ประชาคมอาเซียน" หรือ "เอซี" แล้ว ตามกําหนดคือวันที่31 ธ.ค. 2558 แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังมีคนไม่เข้าใจว่า "อาเซียน"ต่างจาก "ประชาคมอาเซียน" อย่างไร
จากหนังสือคู่มือฉบับประชาชนสําหรับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ชื่อ "58 คําตอบ สู่ประชาคมอาเซียน 2558" ซึ่งจัดทําขึ้นโดยกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศได้อธิบายไว้ให้เข้าใจง่ายๆ อย่างชัดเจนว่า"อาเซียน" (ASEAN : Association of Southeast Asian Nations) เป็น "องค์กร" ความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2510 เพื่อส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ขณะที่ "ประชาคมอาเซียน" (AC : ASEAN Community) เป็น "เปูาหมาย" ความร่วมมือ 3 ด้านสําคัญ ประกอบด้วย
- ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ "เอพีเอสซี"
- ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ "เออีซี"
- ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือ "เอเอสซีซี
ทั้งนี้เหล่าผู้นําชาติสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลีอินโดนีเซีย เมื่อปี
2546 โดยการดําเนินงานไปสู่เปูาหมายทั้ง 3 ด้าน เป็นสิ่งที่ต่อยอดจากความร่วมมืออาเซียนที่มีอยู่แล้วและ
การดําเนินการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
ความสําคัญของอาเซียนต่อประเทศไทยนั้น อาเซียนถือเป็นวาระแห่งชาติ เป็นพื้นฐานสําคัญของนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลมาทุกยุคทุกสมัย ทั้งนี้ไทยเป็นประเทศที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนอาเซียนมาตั้งแต่ต้น ในฐานะประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง 1 ใน 5 ชาติ ตาม "ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)" ปี พ.ศ. 2510 อาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ1 ของไทยตั้งแต่ปี 2545 ไทยได้ดุลการค้ากับอาเซียนตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ร้อยละ 20 ของการลงทุนจากต่างประเทศในไทยมาจากอาเซียน และร้อยละ 30 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติมาจากประเทศในอาเซียน
"น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์" รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า อาเซียนเป็นวาระแห่งชาติของไทยมาโดยตลอด โดยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อํานวยการเตรียมความพร้อม เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2557 ซึ่งมีการประชุมไปแล้ว 1 ครั้งโดยเน้นเรื่องประเด็นเร่งด่วน การประชาสัมพันธ์ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ส่วนคณะอนุกรรมการ ด้านการเมืองความมั่นคง ประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง เน้นเรื่องการเร่งรัดแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคง (สมช.) โดยกําหนดเจ้าภาพ และแนวทางการดําเนินการ ระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ในส่วนของภาคราชการ ได้มีการปรับโครงสร้างส่วนราชการเพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ตั้งการจัดตั้ง ASEAN Unit/ ASEAN Center มียุทธศาสตร์ แผนงาน และงบประมาณ มีระบบงานสนับสนุนบูรณาการสร้างองค์ความรู้ กําหนดตัวชี้วัด และสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ขณะที่การปรับความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคลากรได้มีการเตรียมความพร้อมในด้านทักษะ ทั้งความเชี่ยวชาญ ภาษา การเจรจา กฎหมายระหว่างประเทศ สนับสนุนในบุคลากรมีมุมมองที่ไกลกว่าประเทศไทย และเสริมสร้างทัศนคติในเชิงบวก อย่างไรก็ตามน.ส.บุษฎี ยอมรับว่าแม้แต่ภาครัฐเองก็ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาเพื่อบ้านในอาเซียน แตกต่างจากเพื่อนบ้านที่รู้ภาษาไทยกันมาก ซึ่งในส่วนนี้ต้องอาศัยภาคการศึกษาเข้ามาแก้ไขปัญหา โดยทุกส่วนต้องทํางานอย่างบูรณาการอย่างแท้จริง มองภาพเดียวกัน เข้าใจตรงกันในเรื่อง positioning ของไทย และผลประโยชน์หลักที่ไทยต้องการผลักดัน มีการผสานแผนงานของกระทรวงต่างๆโดยควรจะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
"นายธานินทร์ ผะเอม" รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มองว่า การจัดการหน่วยงานของภาครัฐทําได้ดีกว่าปีที่แล้ว ทั้งในด้านการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพบุคลากร รวมทั้งการดําเนินการตามพันธกรณี เช่น การทบทวน แก้ไขปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศเพื่ออํานวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน
ประเทศไทยยังคงมีศักยภาพในหลายๆ ด้านที่จะได้ประโยชน์ในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะในเรื่องของสินค้าเกษตร และการออกแบบงานความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งก็มีงานวิจัยที่สามารถนําไปต่อยอดพัฒนาเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบได้อยู่แล้ว หากแต่ระเบียบราชการบางประการที่ทําให้การนําไปใช้ประโยชน์ยังไม่สามารถทําได้อย่างคล่องตัว จุดนี้เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย กลายเป็นรัฐทําวิจัยแต่ขึ้นหิ้งไม่ขึ้นห้าง
ปัจจุบันภาพรวมความก้าวหน้าของการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนโดยการประเมินของสํานักเลขาธิการอาเซียนในภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 82.5 โดยแยกเป็นเสาการเมืองและความมั่นคงร้อยละ 78 เสาเศรษฐกิจ ร้อยละ 79.7 ส่วนเสาสังคมและวัฒนธรรมร้อยละ 90 ขณะที่เวทีประชุมเวิลด์ อิโคโนมิก ฟอรัม (WEF 2013/14) ได้สรุปปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทําธุรกิจในไทยไว้ 5 ประการ ได้แก่ ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ความต่อเนื่องของรัฐบาล ความต่อเนื่องของนโยบาย การขาดแคลนบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และการขาดแคลนความสามารถในการปรับปรุงสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นี่ยังเป็นโจทย์ใหญ่ที่ไทยต้องแก้ไขเพื่อจะไม่ให้ตกขบวนประชาคมอาเซียนในสิ้นปี 58 นี้หมายเหตุ : รายงานพิเศษฉบับนี้มาจากเนื้อหาส่วนหนึ่งของการสัมมนา TU-ASEAN Forum ครั้งที่ 9 ในหัวข้อ "โค้งสุดท้าย กับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนของ ไทย"ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์อาเซียนศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันพุธที่ 17 ธ.ค.57 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่นกรุงเทพมหานคร
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สยามรัฐ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สยามรัฐ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
-
-
ดูผิวเผินมาเลเซียเป็นประเทศทันสมัยที่สุดในอาเซียน แม้แต่สิงคโปร์ก็สู้ไม่ได้ เนื่องจากมีจำนวนประชากรขนาดกลาง มีสัดส่วนชาติพันธุ์ที่น่าสนใจคือ มาเลย์ จีน อินเดีย และชาติอื่นๆ...by Editor
-
เรื่องมาใหม่
คำฮิต