ลบ แก้ไข

ดันธุรกิจบริการบุกเพื่อนบ้านโอกาส โรงแรมไทย สยายปีก




        ศิริพร นุรักษ์ผู้อํานวยการระดับสูงบีโอไอ กล่าวว่า ภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มซีแอลเอ็มวีประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม เป็นจุดหมายที่กลุ่ม ทุนใหญ่ 3 ประเทศ "จีน-อินเดีย-ญี่ปุ่น" รุกขยายตลาดเพิ่มขึ้นแทนกลุ่มทุนตะวันตก ที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ โดยธุรกิจจีนมักเข้ามาตามหลังรัฐบาลจีนที่ได้บุกเบิกโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ร่วมกับ รัฐบาลประเทศเหล่านี้ขณะที่ "ญี่ปุ่น" น่าจับตามอง เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายส่งเสริม กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพขยายเครือข่ายสร้างรายได้จากนอกประเทศมากขึ้น

       ปีที่ผ่านมา ประเทศอาเซียนที่รับการลงทุนต่างชาติมากสุด ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม ไทยและพม่า ตามลําดับ ในปี 2558-2559 น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงลําดับการเข้าลงทุนจากความนิยม แต่หากพิจารณา "ความง่าย" ในการเข้าทําธุรกิจ ซึ่ง "เวิลด์แบงก์" ได้ทําการสํารวจไว้ล่าสุด พบว่า ในอาเซียน "สิงคโปร์" อยู่อันดับหนึ่ง ตามด้วย "มาเลเซีย" อันดับ 18 ขณะที่ไทยรั้งอันดับ 26 จาก 189 ประเทศ ที่ทําการสํารวจ ปัจจัยที่ทําให้เกิดความยากง่ายในการดําเนินธุรกิจนั้น คือ ข้อกฎหมายและกฎระเบียบในการจัดตั้ง การดําเนินการธุรกิจ กระทั่งการนํารายได้กลับมายังประเทศ ผู้ลงทุน เป็นต้นซึ่งหลายประเทศในอาเซียนนั้นยังต้องผ่านการศึกษาให้รอบคอบ

       แนวโน้มการลงทุนนั้น พบว่า "ไทย" เริ่มถูกแซงหน้าจากเพื่อนบ้านพอสมควร โดยปัจจุบัน "สิงคโปร์" ขึ้นแท่นอันดับ 1 ตามด้วย "มาเลเซีย" อันดับ 2 "ไทย" อันดับ 3 "อินโดนีเซีย" อันดับ 4 และ "เวียดนาม" อันดับ 5 

      ปัจจุบัน บีโอไอ เริ่มผลักดันนักลงทุนไทยออกไปแสวงหาโอกาสที่กําลังเฟื่องฟูในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีศักยภาพอย่างธุรกิจท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์และการขนส่ง "ภาคธุรกิจไทยในกลุ่มโรงแรมมีความโดดเด่นอยู่แล้ว เพราะมีความเชี่ยวชาญในการบริหารโรงแรมหลากหลายตั้งแต่ราคาประหยัดไปจนถึง 5 ดาวแต่สําหรับประเทศเพื่อนบ้านยังขาดแคลนธุรกิจโรงแรมอยู่มาก" 
 

      ขณะเดียวกัน การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย เป็นโอกาสสําหรับผู้ประกอบการโรงแรมขยายตลาดในประเทศด้วยเช่นกัน หากยังไม่มีความพร้อมออก นอกบ้าน

     จุลพงศ์อยู่เกษ ประธานคณะกรรมการบริษัทซิกโก้ลอว์ประเทศไทย จํากัด กล่าวว่า กลุ่มทุนไทยที่ขยายตลาดต่างประเทศยังคงจํากัดอยู่เฉพาะบริษัทรายใหญ่และนักธุรกิจบางกลุ่มเท่านั้น สะท้อนจากฐานลูกค้าของ ซิกโก้ที่มารับบริการช่วยเหลือด้านกฎหมายและธุรกิจระหว่างประเทศ อันดับ 1 ในสัดส่วนกว่า 40% คือ มาเลเซีย ตามด้วย สิงคโปร์ 30% และ จีน-ญี่ปุ่น รวมกันราว 30% แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวของ สิงคโปร์และมาเลเซีย ในด้านการลงทุน ค่อนข้างมาก

     เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา วางรากฐานธุรกิจท่องเที่ยวในไทย ไม่ได้ "หวือหวา" เทียบเท่าประเทศในกลุ่ม ซีแอลเอ็มวีเช่น บริษัทภายใต้ตระกูลร็อกกี้เฟลเลอร์จากสหรัฐ ที่มีแผนพัฒนาเรสซิเดนท์และโรงแรมมูลค่ากว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ที่เวียดนาม

     นอกเหนือจากเวียดนาม ชั่วโมงนี้ต้อง ยกให้ "พม่า" เป็นดาวรุ่งอันดับ 1 ที่มีการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มสูงสุด เพราะทรัพยกร ธรรมชาติและวัฒนธรรมที่ "สด" และ "แปลกใหม่" ประกอบกับรัฐบาลเริ่มวางนโยบายระดับชาติส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างเป็นระบบ เอื้อให้ทั้งการลงทุนและ เดินทางท่องเที่ยวเติบโตมากขึ้น โดยมีการพัฒนาที่น่าจับตาอยู่ทางฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งมีเกาะกว่า 500-600 เกาะ ที่กําลังเตรียมให้สัมปทานต่างชาติเพื่อเข้ามาลงทุนสร้างโรงแรมในโมเดลเดียวกับมัลดีฟส์เป็นหนึ่งความเคลื่อนไหวที่ไทยต้องจับตามอง ทั้งในเชิงรุกฐานะผู้ลงทุน และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในไทยเองไม่ให้เสียส่วนแบ่งการตลาดในอนาคต
 
    

      ทั้งนี้สิ่งที่ยังเป็นอุปสรรคร่วมของการเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้คือ "กฎหมาย" เนื่องจากผลสํารวจนักธุรกิจทั่วโลกจาก เวิลด์แบงก์มีถึง 45% ที่ระบุให้เป็นอุปสรรคอันดับ 2 รองจากการแสวงหาแหล่งเงินทุน โดยแต่ละประเทศในกลุ่มซีแอลเอ็มวีก็ยังมีข้อจํากัดด้านกฎหมายในแง่มุมต่าง กันไปข้อจํากัดดังกล่าวถือเป็น "โอกาส" ของธุรกิจผู้ให้บริการด้านกฎหมายและธุรกิจระหว่างประเทศ ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2558 บริษัท ตั้งเป้ารายได้ 1,000 ล้านบาท ในปี 2559 คาดรายได้เติบโตเท่าตัวแตะ 2,000 ล้านบาท โดยปัจจุบัน มีมูลค่าการลงทุนของลูกค้ารวมกว่า 1 แสนล้านบาท

 
ขอขอบคุณที่มา :  (นฤมล เกษมสุข คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) (กรุงเทพธุรกิจ) 
 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,010 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean