ลบ
แก้ไข
ในปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นปีที่ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีต้องเจอกับความยากลําบากจากหลากหลายปัจจัยลบพอสมควร แต่ในปีนี้ทิศทางเศรษฐกิจก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นข่าวดีต่อธุรกิจเอสเอ็มอีไทย โดยเศรษฐกิจในปีนี้จะเติบโตอยู่ที่ 4% เนื่องจากการใช้จ่ายของภาครัฐที่เริ่มกลับมาเดินหน้าต่อได้และการปรับลดของค่า น้ํามันในตลาดโลก รวมทั้งภาคการส่งออกก็กลับมาดีขึ้นตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม CLMV
จับตาธุรกิจ SMEs ปีแพะ ใครรุ่ง ใครระวัง
ในปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นปีที่ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีต้องเจอกับความยากลําบากจากหลากหลายปัจจัยลบพอสมควร แต่ในปีนี้ทิศทางเศรษฐกิจก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นข่าวดีต่อธุรกิจเอสเอ็มอีไทย โดยเศรษฐกิจในปีนี้จะเติบโตอยู่ที่ 4% เนื่องจากการใช้จ่ายของภาครัฐที่เริ่มกลับมาเดินหน้าต่อได้และการปรับลดของค่า น้ํามันในตลาดโลก รวมทั้งภาคการส่งออกก็กลับมาดีขึ้นตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม CLMV
เมื่อทิศทางเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มดีเรามาดูว่าธุรกิจในปีนี้ธุรกิจไหนจะมีโอกาสกลับมารุ่ง และธุรกิจไหนต้องเฝ้าระวังกันบ้าง
เริ่มต้นที่ธุรกิจดาวรุ่ง ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้าง ในปีนี้จะได้รับผลดีจากแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของภาครัฐทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงพื้นที่ชายแดนซึ่งเป็นทําเลที่มีศักยภาพ ทําให้ธุรกิจก่อสร้างมีโอกาสเติบโต ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเป็นธุรกิจที่ได้ผลดีต่อเนื่องจากการขยายเส้นทางคมนาคม โดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดน สปป.ลาว เมียนมาร์และกัมพูชา ได้แก่จังหวัดตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด และสงขลา
หนองคาย นครพนม และนราธิวาสเพิ่มสูงขึ้น ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวและสุขภาพก็เป็นธุรกิจที่ต้องจับตาใน
ปีนี้เช่นกัน เพราะประเทศไทยได้รับการยอมรับถึงความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและมีความ
หลากหลาย ที่สําคัญยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความคุ้มค่าเรื่องราคาถ้าเปรียบเทียบกับประเทศใกล้เคียง
ทําให้ตอบโจทย์กลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้ระดับกลางที่มีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งประเทศไทยยังได้รับการยกย่องว่าเป็น Medical Hub ของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากมีบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญการให้บริการด้านสุขภาพ ด้วยราคาที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในประเทศอาเซียนได้ยิ่งปัจจุบันกระแสคนรักสุขภาพเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นแรงสนับสนุนให้ธุรกิจท่องเที่ยวและสุขภาพมีทิศทางการเติบโตที่ดีในปีนี้
อีกทั้งประเทศไทยยังได้รับการยกย่องว่าเป็น Medical Hub ของภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากมีบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญการให้บริการด้านสุขภาพ ด้วยราคาที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในประเทศอาเซียนได้ยิ่งปัจจุบันกระแสคนรักสุขภาพเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นแรงสนับสนุนให้ธุรกิจท่องเที่ยวและสุขภาพมีทิศทางการเติบโตที่ดีในปีนี้
ส่วนธุรกิจส่งออก เช่น กลุ่มสินค้าแฟชั่น อาหารแปรรูป เพราะตลาด CLMV มีความชอบในคุณภาพสินค้าของไทย ตลาดสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น ยังมีความต้องการสินค้าจากไทยจึงเป็นโอกาสที่ทําให้สินค้ากลุ่มส่งออกเติบโต
สุดท้าย ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร เนื่องจากตอนนี้รัฐบาลต้องการขับเคลื่อนเทคโนโลยี
ดิจิทัล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศให้รองรับ AEC ทําให้ระบบดิจิทัลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับ
ชีวิตประจําวันของคนเรามากขึ้น เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลทําให้คนทั้งโลกสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้
แบบไร้พรมแดน และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้รวดเร็ว
ดังนั้นจึงส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ SMEs ถึงแม้ว่าธุรกิจ SMEs จะไม่ได้เป็นผู้ลงทุนระบบโครงข่ายเองแต่ก็จะไดรับอานิสงส์จากบริษัทขนาดใหญ่ที่ขยายเครือข่ายเป็นวงกว้าง ทําให้ช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น ผ่านหน้าร้านบนระบบออนไลน์ของผู้ประกอบการ SMEs
ดังนั้นจึงส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ SMEs ถึงแม้ว่าธุรกิจ SMEs จะไม่ได้เป็นผู้ลงทุนระบบโครงข่ายเองแต่ก็จะไดรับอานิสงส์จากบริษัทขนาดใหญ่ที่ขยายเครือข่ายเป็นวงกว้าง ทําให้ช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น ผ่านหน้าร้านบนระบบออนไลน์ของผู้ประกอบการ SMEs
มาดูกลุ่มธุรกิจที่ต้องเจอกับความท้าทาย และจําเป็นต้องปรับตัวในปีนี้เริ่มด้วยธุรกิจการเกษตร เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรหลายรายการยังมีแนวโน้มตกต่ําอย่างต่อเนื่อง เช่น ยางพารา ปาล์มน้ํามันมันสําปะหลัง อ้อย และข้าว ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ สินค้าเหล่านี้ต้องเผชิญกับภาวะผลผลิตที่มีอยู่มากเกินความต้องการ เช่น สต๊อกยางพาราของจีนยังมีอยู่มาก จึงทําให้ชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากไทย
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แม้ว่าการพัฒนาโครงการลงทุนของภาครัฐและเอกชน ทําให้มีทําเลศักยภาพใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น แต่ราคาที่ดินก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการที่มีสายป่านสั้น มีเงินทุนไม่หนาพอ ก็จะได้รับผลกระทบ
สิ่งที่นํามาเขียนในบทความทั้งหมดนี้เป็นแนวโน้มที่คาดว่า ธุรกิจไหนจะรุ่ง ธุรกิจไหนต้องเฝ้าระวัง ซึ่งก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอีกหรือไม่จึงไม่ควรประมาท แต่ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสําคัญในการพัฒนาคุณภาพสินค้า บริการและบุคลากร พร้อมทั้งต้องศึกษาพฤติกรรมลูกค้าอยู่เสมอ
รวมถึงนําเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนในการทําธุรกิจให้มากขึ้น เชื่อว่าธุรกิจ SMEs มีจุดเด่นที่มีความยืดหยุ่น และความคล่องตัวสูง หากรู้จักที่จะปรับตัว เปลี่ยนแปลงแนวคิด และปรับกระบวนการ เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ คุณจะได้รับสิ่งใหม่ๆ และอาจนําความสําเร็จมาให้ธุรกิจคุณได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
เกี่ยวกับประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-
ประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้มีการพัฒนาด้านเครือข่ายการขนส่งระหว่างกันและเชื่อมต่อไปยังเอเชียตะวันออก นายกรัฐมนตรีของไทยได้ให้ความสำคัญสำหรับความร่วมมือในด้านการขนส่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคนี้...by dogTech
-
สำรวจแรงงานไทยรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 1.5 หมื่นบาท พบมีหนี้เฉลี่ยครัวเรือนละ 1.06 แสนบาท ส่วนใหญ่เป็นหนี้นอกระบบ เหตุรายได้ไม่พอรายจ่าย หรือต้องจ่ายหนี้เฉลี่ยเดือนละกว่า 6 พันบาท สูงสุดในรอบ 6 ปี...by Editor Bow
-
สมุนไพรไทยและผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการ "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" หรือ "OTOP" เป็นหนึ่งในแผนกการที่รัฐบาลจะได้รับการส่งเสริม เพื่อการขยายตลาดไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน...by dogTech
-
อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ หอการค้าและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดมะริด สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ได้เดินทางเยือนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ ส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว พร้อมพบปะกับนักลงทุน...by dogTech
เรื่องมาใหม่
คำฮิต