ลบ แก้ไข

ไทยสู่ เออีซี พร้อมเป็นฮับแต่ไร้ยุทธศาสตร์


      เหลือเวลาอีกไม่ถึงปีไทยและชาติสมาชิกอาเซียนอีกทั้ง 9 ประเทศ จะผนวกรวมกันเป็น ประชาคมอาเซียน (เอซี) ซึ่งประกอบไปด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (เอเอสซีซี) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (เอพีเอสซี) และที่จับตามองกันมากที่สุด คือ ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)

      ด้วยประเทศไทยมีทําเลที่ตั้งอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของอาเซียนการไหลเวียนของสินค้าและบริการ ทุกอย่างอาเซียนจําเป็นต้องผ่านไทย การรวมตัวกันเป็นเออีซีจึงจะนําประโยชน์ด้านเศรษฐกิจมาสู่ไทย มหาศาล

       อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะมีปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อต่อการรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน แต่ความ วุ่นวายทางการเมืองตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทําให้การเตรียมพร้อมเข้าสู่เออีซีของไทยต้องหยุดชะงัก จวบจนปัจจุบันไทยเหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 ปีเท่านั้น ทําให้เกิดเป็นข้อสงสัยว่า รัฐนาวาแห่งนี้จะพร้อมต่อ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหรือไม่?

       ประภัสสร์เทพชาตรีผู้อํานวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นถึง มุมมองในหลายประเด็น ทั้งด้านของสิ่งที่ไทยจําเป็นต้องเร่งทําก่อนเข้าสู่เออีซีและวิสัยทัศน์หลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยแสดงทัศนะต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนว่า ที่ผ่านมา ไทยดําเนินการเตรียมความพร้อมและมียุทธศาสตร์ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ด้วยสภาวะ การเมืองชะงักงันทําให้ไทยแทบทําอะไรไม่ได้เลยในตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
   

    บางช่วงแทบเป็นอัมพาต เราทําอะไรไม่ได้เลยตั้งแต่รัฐประหาร พ.ศ. 2549 ที่เสียดายที่สุด คือ เราไม่มีแม้แต่ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการเข้าสู่เออีซีทั้งๆ ที่เมื่อเราเข้าสู่เออีซีแล้ว ไทยจะเป็นศูนย์กลาง ประชาคมอาเซียน เพราะฉะนั้นถ้าจะเกิดอะไรในอาเซียน ไทยจะได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะเราจะเป็น ฮับของทุกๆ อย่าง ทั้งการค้าการลงทุน โลจิสติกส์การศึกษา คือเรามีศักยภาพ แต่เราก็ไม่สามารถจะมี ยุทธศาสตร์และนโยบายที่ชัดเจนและก็ต้องทําการบ้านอีกเยอะ

         พร้อมชี้ว่า ไทยยังไม่พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างแน่นอน เพราะแม้ไทยจะมีศักยภาพ แต่ ก็ไม่มียุทธศาสตร์และนโยบายที่ชัดเจนในเชิงรุก

         ฉะนั้นเหลือเวลาอีก 1 ปีไทยต้องเร่งพัฒนาและปรับโครงสร้างเพื่อให้ทัน แต่ก็ไม่ได้หมายความ ว่า พอถึงวันที่ 1 ม.ค. 2559 แล้วไทยจะทําอะไร ต่อไปไม่ได้เพราะจริงๆ แล้ว การกําหนดเวลาเป็นเรื่อง ของความต่อเนื่องเหมือนเป็นเชิงสัญลักษณ์มากกว่า

        ประภัสสร์อธิบายต่อไปว่า ในช่วงหนึ่งปีที่เหลือ ซึ่งที่ไม่น่าจะทันท่วงทีสําหรับการเตรียมความ พร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะไทยก็ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ที่ผ่านมา มีการ มอบหมายให้สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทําแผนแม่บท (โรดแมป) จนได้ออกมาเป็น "8 ยุทธศาสตร์เพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558" แต่ก็ไม่ตอบโจทย์

      "ถ้าเทียบกับทีมฟุตบอล 8 ยุทธศาสตร์ก็คือ การเตรียมความพร้อมก่อนลงสนาม แต่ยุทธศาสตร์ ว่าลงสนามแล้วเราจะเล่นอย่างไร ตรงนี้เรายังไม่มี" 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 

     ดังนั้น ในช่วงหนึ่งปีที่เหลือนี้ประเทศไทยควรจะต้องมีกลไกขึ้นมาใหม่อาจเป็นกระทรวงอาเซียน หรือคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติที่นายกรัฐมนตรีต้องลงมาดูแลเรื่องนี้โดยตรงเพื่อให้งานราบรื่น

      อีกหนึ่งประเด็นที่ไทยจะเพิกเฉยไม่ได้หลังจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน คือ ความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีกับเพื่อนบ้าน ซึ่งไทยมีทั้งปัญหาด้านการปักปันเขตแดน ความรู้สึก นับเป็น โจทย์ใหญ่ในนโยบายต่างประเทศของไทย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.โพสต์ทูเดย์

 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,345 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ