ลบ แก้ไข

การผลิตแพทย์-พยาบาลไทยกับการเตรียมความพร้อมต่อ AEC


       หากการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศทั้งในและนอกอาเซียนที่จะเข้ามาสู่ประเทศไทย เนื่องจากการเปิดเสรีด้านการค้าและการบริการจาก AEC เพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มสูงที่จะมีผู้เข้ามาใช้บริการในสถานพยาบาลภายในประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้น อุปสงค์ต่อการบริการทางสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายแพทย์และพยาบาลวิชาชีพภายในประเทศ (ระหว่างภาครัฐและเอกชน)

      ถึงแม้ว่าคนไข้ต่างชาติจะคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับคนไข้ทั้งหมด แต่ก็ถือว่าเป็นกลุ่มคนไข้ที่มีการเติบโตค่อนข้างดีในโรงพยาบาลเอกชน ในขณะที่ในภาครัฐถือเป็นคนไข้ที่มีสัดส่วนที่น้อยมาก การเติบโตของคนไข้ต่างชาติในโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายกลุ่ม และคาดว่าคนไข้ชาวอาเซียนน่าจะมี
จำนวนเพิ่มขึ้นในเขตที่มีการลงทุนทางธุรกิจเช่นในแถบนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และในบริเวณจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านถึงแม้ว่า AEC ไม่ได้ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ
อุปสงค์ของการบริการทางสุขภาพแบบฉับพลัน เพราะอุปสงค์ในประเทศมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่แล้วแต่ AEC อาจจะไปช่วยเร่งให้อุปสงค์ของการใช้บริการทางสุขภาพในบางพื้นที่มีการเพิ่มในอัตราที่เร็วขึ้นมากกว่าปกติ

     จากแนวโน้มที่ว่าทำให้ภาคเอกชนจำเป็นต้องจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส าหรับพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งตอนนี้ถือว่าขาดแคลนอย่างหนักทั้งในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน ยิ่งไปกว่านั้นจากการทบทวนข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการในรูปแบบที่ 3 (Mode 3: การจัดตั้งธุรกิจเพื่อให้บริการ) พบว่ามีการเพิ่มข้อผูกพันโดยอนุญาตให้มีสัดส่วนเงินทุนต่างชาติของประเทศภายในอาเซียนที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้ไม่เกิน 70% ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนในอาเซียนจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในไทยมากขึ้นหลังจากการเปิดเสรีอาเซียนในรูปแบบของการร่วมทุนหรือเพิ่มทุน หรือในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันคือการที่นักลงทุนต่างชาติอาจจะเข้ามาซื้อโรงพยาบาลขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่ปัจจุบันมีผลประกอบการที่ไม่ดีนักแล้วน ามาปรับปรุงเพื่อสร้างแบรนด์ (Brand) โรงพยาบาลใหม่ขึ้นมา

    ไม่ว่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือการขยายตัวของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยซึ่งจะยิ่งท าให้ความต้องการในการจ้างแพทย์และพยาบาลในภาคเอกชนมีเพิ่มมากขึ้นและจะน ามาซึ่งการดึงแรงงานแพทย์และพยาบาลวิชาชีพจากภาครัฐเข้าสู่ภาคเอกชนมากขึ้น ซึ่งระดับของปัญหาจะรุนแรงหรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับระดับความต้องการแรงงานของภาคเอกชน และโครงสร้างแรงจูงใจของการท างานที่จัดสรรโดยภาครัฐ
 

    สำหรับกำลังการผลิตพบว่ากำลังการผลิตแพทย์และพยาบาลไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าใดนักย่อมทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล หรือคุณสมบัติของบุคลากรที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การผลิตแพทย์และพยาบาลจึงเป็นประเด็นหลักที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน ในปัจจุบันการผลิตแพทยศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาด าเนินการอยู่จ านวน 20 สถาบัน เป็นของรัฐ 18 สถาบัน และเป็นของเอกชน 2 สถาบัน สถาบันต่างๆ เหล่านี้ผลิตแพทย์ได้รวมกันปีละประมาณ 2,300 คน โดยตัวเลขแพทย์ใหม่ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในปี 2554 มีจ านวนทั้งสิ้น 1,868 คน กล่าว โดยสรุปได้ว่า รัฐบาลยังมีนโยบายสนับสนุนการผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองกับความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก และการจัดการศึกษา หลักสูตรและเงื่อนไขหลังจบการศึกษา ยังไม่เอื้อต่อการมุ่งแข่งขันในเชิงธุรกิจการศึกษาในระดับภูมิภาค เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์หรือฟิลิปปินส์

    อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าคุณภาพของบัณฑิตแพทย์ที่จบการศึกษาภายในประเทศจะไม่สามารถแข่งขันกับผู้ที่จบในต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นหลักสูตรของสถาบันต่างๆ จำนวนหนึ่ง มีศักยภาพที่เปิดกว้างให้นิสิตนักศึกษา สามารถแสวงหาความรู้และประสบการณ์ในวงกว้าง รวมถึงในต่างประเทศได้ ซึ่งอาจเป็นจุดแข็งหากสามารถน าโอกาสดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็น
ระบบและเป็นรูปธรรม


    เมื่อพิจารณาในส่วนของพยาบาลก็จะพบว่าโรงเรียนพยาบาลในภาพรวมยังไม่มีการเตรียมพร้อมให้นักศึกษามีความเป็นนานาชาติเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยน่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาตนเป็น Nursing Education Hub เพื่อพัฒนาพยาบาลในระดับ Post basic และบัณฑิตศึกษาและน่าจะสามารถช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านเพื่อผลิตครูพยาบาลได้อีกด้วย นอกจากนั้นแล้วผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตพยาบาลยังให้ความส าคัญต่อการผลิตและการกระจายแรงงานภายในประเทศซึ่งเป็นปัญหาส าคัญมากกว่า จึงอาจกล่าวได้ว่าสถาบันการศึกษาส าหรับแพทย์และพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ยังคงรักษาทิศทางการผลิตและหลักสูตรการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศเป็นหลักดังที่เคยเป็นมา

   

      โดยสรุปแล้วมุมมองและแนวทางการผลิตบุคลากรทางวิชาชีพการพยาบาลเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจจะเป็นตัวผลักดัน หรืออุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายของพยาบาลระหว่างประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน เพราะการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้พยาบาล หรือผู้สนใจศึกษาพยาบาลจากประเทศสมาชิกสามารถเข้าถึงได้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อประเทศเจ้าบ้าน เพราะท าให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจและมีการพัฒนาทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง


    ในขณะเดียวกันการจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานและตอบสนองต่อความต้องการของประเทศสมาชิก ก็จะส่งผลให้พยาบาลที่ส าเร็จการศึกษาจากประเทศไทย สามารถแข่งขันกับพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศอื่นได้ เป็นการเพิ่มโอกาสในการท างานในต่างประเทศ การลงทุนด้านบริการสุขภาพในประเทศน่าจะมากขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มศักยภาพในการเปิดตลาดการค้าด้านบริการเชิงรุกในประเทศสมาชิกด้วย ดังนั้นวางแนวทางการผลิตบุคลากรทางการพยาบาลจึงมีความส าคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมเพื่อการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน


      การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตร การผลิตแพทย์และพยาบาลมีประเด็น และรายละเอียดมากรวมถึง แนวทางทาง การเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการแพทย์และพยาบาลของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการศึกษาและการบริการสุขภาพ

     ขอขอบคุณข้อมูลจาก : (ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, กฤษดา แสวงดี และคณะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยฝุายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ สกว.) (กรุงเทพธุรกิจ)

 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,578 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ