ลบ แก้ไข

แนะรอบคอบลดภาษีฟุ่มเฟือยแบรนด์ไทยหวั่นทุบตลาด-ฉุดขีดแข่งขัน



 
 
        นับถอยหลังอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของไทยทยอยลดลง ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ นับเป็นช่วงเวลาส าคัญของ "ผู้ประกอบการไทย" เร่งปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยขอ "ปฎิเสธ" นโยบายปรับลดอัตราภาษีน าเข้าเหลือ 0% ที่มีการหยิบขึ้นมาพิจารณาเป็นระยะ ซึ่งบางกลุ่มธุรกิจเห็นว่าเป็นเครื่องมือส าคัญกระตุ้น ภาคการท่องเที่ยวและการชอปปิ้งขยายตัว

       ขณะที่ผู้ประกอบการ "แบรนด์สัญชาติไทย" มองว่าเป็น "ปัจจัยเสี่ยง" ต่อการดำเนินธุรกิจ จากการเปิดทางให้สินค้าแบรนด์เนมจากต่างประเทศทะลักเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ด้วยความได้เปรียบของ "ราคา" และ "การรับรู้ต่อแบรนด์" ที่ต้องยอมรับว่า "ไทยแบรนด์" ยังอยู่ในสถานะ "เสียเปรียบ" อยู่หลายขุม ประเทศไทยจะได้หรือเสียประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวนี้ยังคงเป็นคำถาม

      ศิริทิพย์ ศรีไพศาล ผู้อำนวยการฝุายวางแผนและพัฒนาธุรกิจ บริษัท แดพเพอร์เจ็นเนอรัล อะแพเร็ล จำกัด กล่าวว่าไม่เห็นด้วยกับมาตรการลดภาษีน าเข้า 0% เพราะ มองว่าเป็นการสนับสนุนกลุ่มสินค้า ต่างประเทศมากกว่า "สินค้าไทย" "เมื่อราคารวมของแบรนด์นอกถูกลง คนไทยอาจไปเลือกซื้อสินค้าเหล่านี้มากกว่าสินค้าไทย การปรับลดภาษีน าเข้าอาจท าได้บ้าง แต่ต้องไม่ใช่การลดภาษีเหลือ 0%"

     ทั้งนี้ ภาครัฐควรวางนโยบายหรือ ยุทธศาสตร์ส่งสริมสินค้าไทยอย่างจริงจัง ผ่านมาตรการด้านภาษี หรือวางแนวทาง ความร่วมมือในการผลักดัน "โลคัลแบรนด์" เปิดตลาดต่างประเทศมากกว่า

     มาตรการลดภาษีสินค้าฟุุมเฟือยเหลือ 0% เชื่อว่ายัง "ไม่เหมาะสม" กับตลาดไทยในการดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมากนัก โดยพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางเข้ามาในไทยต้องการ "ซื้อสินค้าไทย" ที่มีเอกลักษณ์ ขายเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ไม่ใช่แบรนด์สินค้าที่หาซื้อที่ไหนก็ได้ในประเทศอื่นๆ

     "ผู้ผลิตสินค้าแฟชั่นไทย มีจุดแข็งในการแข่งขัน คือ ความคิดสร้างสรรค์ และการผลิตที่มีคุณภาพ ใช้แรงงานที่มีฝีมือและทักษะในการผลิต แต่ต้องใช้เวลาการผลิตค่อนข้างนาน เทียบการผลิตในต่างประเทศที่ใช้เครื่องจักรท าให้ผลิตได้ในจ านวนมาก และรวดเร็วกว่า"

     อย่างไรก็ดีบริษัทมีการเตรียมพร้อมองค์กร โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพและสร้างแบรนด์สินค้า นำเสนอความแตกต่าง รวมถึงยังได้ปรับแนวทางการท างานให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อาทิ การเช็คจ านวนการผลิตสินค้าทุกๆ 2-3 เดือน เพื่อรองรับปริมาณการสั่งซื้อ รวมถึงการปรับเปลี่ยนราคาจ าหน่ายสินค้า ตามสภาพก าลังซื้อของผู้บริโภค เป็นต้น

     ขณะที่ ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตและจ าหน่ายเสื้อผ้า แฟชั่น อย่าง ไอ.ซี.ซี.อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นในเครือสหพัฒน์ บุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัทไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กล่าวสั้นๆ ว่า มาตรการลดภาษี นำเข้าสินค้าฟุุมเฟือย 0% "ไม่น่าใช่" สำหรับประเทศไทย

     แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการธุรกิจ การ์เม้นท์ กล่าวว่า 5 ปีจากนี้ภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศต่างๆ ต้องปรับลดลงเป็นไปตามนโยบายการค้าเสรีทั่วโลก มาตรการ ลดภาษีสินค้านำเข้าทำให้ "ต้นทุนราคา" ต่ำลง สามารถปรับโครงสร้างราคาจ าหน่ายลงมา ใกล้เคียงแบรนด์ไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทย เสียเปรียบเรื่องของราคามากขึ้น

    "แต่ช่วงเวลานั้นยังมาไม่ถึง รัฐควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ ยิ่งปีนี้เศรษฐกิจไทยไม่เอื้ออำนวย ถือว่ายังล าบากเศรษฐกิจโลกผันผวน เป็นตัวแปรกระทบ ส่งออก หากภาคการผลิตได้รับผลกระทบ จะยิ่งมีผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ าลง"

    หากพิจารณาในเชิงนักท่องเที่ยวมาไทยส่วนใหญ่เพื่อการพักผ่อน ท่องเที่ยวธรรมชาติ นิยมซื้อสินค้าไทยติดมือกลับบ้าน อาทิ อัญมณีเครื่องหนัง และเสื้อผ้าแบรนด์ไทย รวมถึงผลิตภัณฑ์สปา เครื่องสำอางของหอมแบบภูมิปัญญาเอเชีย ซึ่งเป็นที่ดึงดูดใจของ นักท่องเที่ยวทั่วโลก

    ภาครัฐควรเร่ง "ต่อยอด" การผลิตสินค้าไทยเพื่อจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น ผลักดันการ "ส่งออกสินค้าของไทย" ทั้งกลุ่มสิ่งทอ การ์เม้นท์ จากการรับจ้างผลิตสินค้า หรือ โออีเอ็ม ให้แบรนด์ต่างๆ ซึ่งความได้เปรียบด้านราคาในฐานะผู้ผลิตก าลังจะหมดไป ต้องผลักดันการสร้างแบรนด์ การต่อยอดจุดเด่นทางด้าน "ดีไซน์" การยกระดับสินค้าสู่ตลาดระดับบนมากขึ้น ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงเทียบตลาดกลาง-ล่าง ซึ่งมี "จีน" เป็นเจ้าตลาด


    ความพยายามผลักดันกรุงเทพฯ หรือประเทศไทย สู่ "ฮับชอปปิง" ของอาเซียน ผ่านการสนับสนุนทางด้านภาษีเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางการแข่งขันเทียบคู่แข่ง "ฮ่องกง" และ "สิงคโปร์"ไทยไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับฮ่องกงและสิงคโปร์ ภายใต้ยุทธศาสตร์เมืองปลอดภาษีเป็นจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เพราะไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมผู้ผลิต มีผู้ประกอบการขนาดย่อมเป็นรากฐานการผลิตจ านวนมาก ต่างกับเมืองชอปปิงฮ่องกงและสิงคโปร์ ที่ไม่มีฐานผลิต"


    การเปิดทางให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาท าตลาดด้วยเงื่อนไขที่ได้เปรียบ ย่อมกระทบสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย พะยี่ห้อ "แบรนด์ไทย" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อธุรกิจได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือกว่า สิ่งที่ตามมา คือ ผลกระทบต่อธุรกิจที่อ่อนแอ

    ที่ผ่านมาอัตราภาษีน าเข้าสินค้า แบรนด์เนมจากที่จัดเก็บ 30-40% ทยอยปรับลดลงเหลือ 0-5% อาทิ นาฬิกา แว่นตา เลนส์ กล้องถ่ายรูป ส่วนสินค้าฟุุมเฟือยที่มีการจัดเก็บอยู่ในอัตรา 30% อาทิ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย น้ าหอม เครื่องส าอาง ล้วนเป็น "อุตสาหกรรมหลัก" ภายในประเทศ ขณะที่ "นักท่องเที่ยวต่างชาติ" หากมีการใช้จ่าย ชอปปิงในประเทศไทย สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (tax refund) เป็นมาตรการสนับสนุนการใช้จ่าย นอกจากนี้แนวทางการท าตลาดของสินค้าแบรนด์เนมทั่วโลก  ในช่วง 2-3 ปีหลัง มีการ "ปรับโครงสร้างราคาขาย" ในแต่ละประเทศ ไม่ให้เหลื่อมล้ ากันมากเช่นในอดีต ลดความได้เปรียบ-เสียเปรียบของช่องว่าง "ราคา" การเปิด เออีซี และโลกไร้พรมแดน มีทั้ง "ผลดี" และ"ผลเสีย" ต่อประเทศและผู้ประกอบการไทย กฎระเบียบ ภาษี ที่เปรียบเสมือนก าแพงปกปูองผู้ประกอบการ ในประเทศถูกผ่อนปรนลง สินค้าผลิต ในประเทศต้องเผชิญการแข่งขันสูงจาก"สินค้านำเข้า" เมื่อก าแพงภาษีสินค้าบางประเภท ถูกปรับลดลงหรือยกเลิก ส่งผลให้สินค้าน าเข้ามีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ


    ภาครัฐจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์เชิงลึกขจัดอุปสรรคและสานประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่ม "สินค้าไทย" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจท่ามกลางโอกาสมหาศาลของตลาดใหม่"เออีซี" อย่างไม่สะดุด


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 1,851 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • เมียนมาเตรียมเปิดตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง ( Yangon Stock Exchang) (YSE) ซึ่งเป็นตลาดหุ้นแห่งแรกของประเทศ โดยเลื่อนจากเดิมที่มีกำหนดเปิดเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากติดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พ.ย....
    by dogTech
  • หวู ฮวี ฮว่าง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสหากรรมและการค้าเวียดนาม และอังเดร สเลปเนฟ รัฐมนตรีการค้าของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเชีย ลงนามแถลงการณ์ร่วมข้อตกลงเขตการค้าเสรีในจ.เกียนซาง โดยมีนายกรัฐมนตรีเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง...
    by Editor
  • พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมผู้นำชาติอาเซียนและนางสาวปัก กึน-ฮเย ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีครั้งที่ 17 ณ ศูนย์การประชุม KLCC กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย...
    by dogTech
  • รัฐสภาสิงคโปร์ได้ผ่านกฎหมายควบคุมไกด์ทัวร์ ที่ไม่ได้รับใบอนุญาต โดยจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถควบคุมตัวไกด์ทัวร์ต้องสงสัยได้โดยทันที แม้ว่าไกด์คนนั้นจะยังอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ โดยกฎหมายดังกล่าว...
    by Editor Bow

สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ