ลบ แก้ไข

ชี้ช่องลงทุน อินโดนีเซีย ตลาดขนาดใหญ่-โอกาสเปิดกว้าง


 

      ประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) มีหลายประเทศที่เรากล่าวถึงกันค่อนข้าง น้อย และหนึ่งในนั้นคือ "อินโดนีเซีย" ซึ่งเป็นประเทศหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีประชากรจํานวน มากที่สุดในกลุ่มอาเซียน ราว 250 ล้านคน หรือเกือบครึ่งของจํานวนประชากรในอาเซียนทั้งหมด นั่น หมายถึง "อินโดนีเซีย" เป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

     ล่าสุด หลังจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เสร็จสิ้น ภายใต้การนําของ นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดี ได้ประกาศแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2558-2562) ในการผลักดันผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ให้เติบโตเฉลี่ยปีละ 7% พร้อมแผนการพัฒนาทั้งด้านสาธารณูปโภคขั้น พื้นฐาน พลังงาน และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

     นายลุตฟีราอุฟ เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจําประเทศไทย กล่าวว่า จากนโยบายดังกล่าว การจะผลักดัน
จีดีพีของประเทศอินโดนีเซียให้เติบโตเฉลี่ยปีละ 7% ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก สิ่งสําคัญคือ จะต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงที่จะเข้าไปสร้างงานใหม่ให้เกิดขึ้น ดังนั้นอุตสาหกรรมที่จะให้ความสําคัญคือที่ต้องใช้แรงงาน เช่น สิ่งทอ, รองเท้า, อุตสาหกรรมการเกษตรและ เกษตรแปรรูป, อุตสาหกรรมการประมงยางและแน่นอนจะให้การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น

     โดยการจะผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ปีละ 7% ในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังผันผวนอยู่นี้ทํา ให้เราต้องทํางานอย่างหนัก ซึ่งนอกจากจะต้องพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ การสร้าง เสถียรภาพทางการเมืองแล้ว ยังต้องอํานวยความสะดวกในด้านเอกสารต่างๆ ด้วย ซึ่งรัฐบาลได้ใช้เวลา 3 เดือน ในการจัดทําระบบ วันสต็อปเซอร์วิส

      ด้าน นายประจวบ ไชยสาส์น ที่ปรึกษาหอการค้าอินโดนีเซียไทย กล่าวว่า จีดีพีของไทยมีสัดส่วน เพียง 1% ของจีดีพีโลกเท่านั้น การที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้จะอาศัยจากภายในประเทศอย่างเดียว ไม่ได้จําเป็นต้องออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อนํารายได้กลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งการจะไปลงทุนใน ประเทศอินโดนีเซีย ทางหอการค้าฯ มีธุรกิจที่เข้าไปลงทุนในประเทศอินโดนีเซียแล้ว เช่น กลุ่ม ปตท.สผ. บริษัทบ้านปูที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้คําปรึกษา แนะนําด้านการลงทุนได้สิ่งแรกสําหรับการไปลงทุนใน อินโดนีเซียคือ หาคู่เสียก่อน ทํางานร่วมกัน ดูใจกันก่อน โดยรัฐบาลอินโดนีเซียมีความชัดเจนอยู่แล้วใน นโยบายจะส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ลง ซึ่งถือเป็นอุปสรรค สําคัญที่จะต้องแก้ไข

      ทั้งนี้อินโดนีเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมีประชากร ราว 250 ล้านคน ประชาชนที่มีฐานะดีและมีกําลังซื้อสูงมีถึงประมาณ 10-15% ของจํานวนประชากร ชาวอินโดนีเซีย และยังเป็นประเทศที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ และมีอัตราการขยายตัวทาง เศรษฐกิจในระดับสูง จึงมีความต้องการสินค้า โดยเฉพาะสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดอินโดนีเซีย ได้แก่ ข้าว น้ําตาล ผลไม้ไทย รวมทั้ง สินค้าอาหารอื่นๆ ทุกประเภท ส่วนธุรกิจบริการของไทยที่นับว่ามีศักยภาพและมีโอกาสในตลาด อินโดนีเซีย ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว

    สําหรับการค้าระหว่างไทย-อินโดนีเซียปี 2557 ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวม 16.79 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ ส่วนมูลค่าการลงทุนจากนักลงทุนไทยในอินโดนีเซียมีการเติบโตต่อเนื่อง โดยปี 2555 มีมูลค่าการ ลงทุน 68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2556 มูลค่า 106.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และล่าสุด ปี 2557 มีมูลค่า 317.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับการลงทุนจากอินโดนีเซียที่เข้ามาลงทุนในไทยก็เติบโตต่อเนื่อง โดยปี 2557 มีมูลค่าการลงทุน 21.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

     นางซาราสวาตีแอลลีซันโตโซ ประธานหอการค้าอินโดนีเซีย-ไทย กล่าวว่า หอการค้า อินโดนีเซีย-ไทย อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจําประเทศไทย โดยใน ปีนี้ได้กําหนดยุทธศาสตร์คือ "Assist - Access - Act" จะเน้นการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนการ เข้าถึงข้อมูล และลงมือทํา เพื่อทําลายกําแพงกั้นทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศ โดยจะสนับสนุนด้าน ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากที่สุดในด้านการลงทุน ระเบียบ กฎหมาย และวิธีปฏิบัติเพื่อเป็นตัวกลางระหว่าง ภาครัฐและเอกชน

     โดยได้กําหนดให้ปี 2558 เป็นปีแห่งการลงทุนอินโดนีเซีย ซึ่งหอการค้าฯ รับที่จะเป็นสื่อกลางให้ นักลงทุน โดยดําเนินงานเพื่อให้ธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย ทั้งในด้านการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจประเภทโรงผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมเกษตร สาธารณสุข โลจิสติกส์และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานด้าน การค้าและบริการ เช่น ธุรกิจประเภทอาหารแปรรูป การส่งต่อเทคโนโลยีการขยายสาขากิจการในด้าน การกีฬาและค่ายนักธุรกิจ รวมถึงด้านการท่องเที่ยว ทั้งเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.คมชัดลึก
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,256 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ