จี้ไทยเร่งอัพเกรดพิชิต "เออีซี " ฟันธงส่งออกโตสุดไม่เกิน 5%
จากที่อาเซียน 10 ประเทศจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปลายปี 2558 นี้จะมีผลให้เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์โดยกําแพงภาษีสินค้า นําเข้าระหว่างกันจะลดลงเป็น 0% เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ ในปีที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกของไทยไป อาเซียน (9 ประเทศ) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย (สัดส่วน 26% ในปี 2557) ยังติดลบ 0.20% ขณะที่เดือนมกราคม 2558 ยังติดลบที่ 0.71%
ต่อสถานการณ์การส่งออกของไทยไปยังตลาดอาเซียนทั้งปีนี้จะเป็นอย่างไรนั้น ภาคเอกชนและ นักวิชาการได้ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่าภาพรวมยังขยายตัวได้ไม่มากนัก
ต่อเรื่องนี้รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง ให้ ความเห็นว่า การส่งออกของไทยไปยังตลาดอาเซียนในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์เวียดนาม) ในภาพรวมปีนี้น่าจะมีความคึกคัก และขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะการค้าชายแดน และการค้าผ่านแดน ระหว่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าอุปโภค-บริโภคที่ CLMV ต้องการเป็นสินค้าที่มีความใกล้เคียงกับที่ไทย ผลิต ส่วนการส่งออกของไทยไปยังกลุ่มอาเซียนเก่า อาทิมาเลเซีย สิงคโปร์อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ในปีนี้ มีแนวโน้มลดลงหรือขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ประเทศเหล่านี้สามารถผลิตได้เอง ในประเทศเพื่อทดแทนการนําเข้า โดยการส่งออกของไทยไปยังกลุ่ม CLMV จะเป็นการค้าชายแดน สัดส่วน 70-80% หากมีการปรับปรุงกฎระเบียบเพิ่ม หรือขยายด่านชายแดนจะทําให้การส่งออกของ ไทยไปยังกลุ่ม CLMV จะขยายตัวได้อีกมาก
ส่วนการส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียนเดิมคงขยายตัวได้ไม่มาก ดังนั้นในภาพรวมการส่งออกของ ไทยในปีนี้คาดจะขยายตัวได้ที่ 3-4% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาในปีนี้คาดจะฟื้นตัวอย่างชัดเจน ญี่ปุ่นฟื้นตัวดีขึ้น จะมีผลให้ประเทศในอาเซียนนําเข้า สินค้าวัตถุดิบ และกึ่งสําเร็จรูปจากไทยไปผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น
สอดคล้องกับดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์อาจารย์ประจําคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ที่กล่าวว่า จากที่เวลานี้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ซึ่งจะมีผล ให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้น และแข่งขันได้ยากขึ้น และเมื่อผนวกกับกําลังซื้อของอาเซียนที่ลดลง จากส่วน ใหญ่เป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในปีที่ผ่านมาจะ ทําให้การส่งออกของไทยไปตลาดอาเซียนโดยเฉพาะอาเซียนเดิม หรืออาเซียน 4 ประกอบด้วย มาเลเซีย สิงคโปร์อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์จะหดตัวค่อนข้างแรงในปีนี้จาก 2 แรงบวกคือค่าเงินคู่ค้าอ่อนค่า ทําให้ การนําเข้าสินค้าไทยมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับกําลังซื้อของกลุ่มอาเซียน 4 ที่ลดลง ส่วนการส่งออกไปยัง กลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นสมาชิกของอาเซียนในปีนี้มองว่าจะยังไปได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าชายแดนที่ยัง ไม่มีปัญหา เวลานี้การส่งออกของไทย และการส่งออกของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนมีปัญหาใกล้เคียงกันคือ ตลาดทั่วโลกหดตัว ขณะที่นโยบายค่าเงินของไทยเสียเปรียบ เพราะเพื่อนบ้านปล่อยเสรี แต่ของเรายังอิงอยู่กับดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่นายพรศิลป์พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การส่งออก ของไทยไปอาเซียนในปี 2557 ที่ติดลบ 0.20% มองว่าเป็นจุดต่ําสุดแล้ว ในปีนี้น่าจะขยายตัวดีขึ้น โดยดี ที่สุดคาดการส่งออกของไทยไปอาเซียนในปี 2558 จะขยายตัวได้ประมาณ 5% (ปี 2557 ไทยส่งออกไป ตลาดอาเซียน 9 ประเทศ มูลค่า 5.94 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งจากที่กระทรวงพาณิชย์หรือระดับ รัฐบาลตั้งเป้าการส่งออกไปตลาดอาเซียนปีนี้ขยายตัวที่ 10-15% มองว่าไม่น่าถึง
ทั้งนี้เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจโลก และประเทศคู่ค้าทั้งยุโรป ญี่ปุ่น รัสเซีย จีน ยังอยู่ภาวะที่ ไม่ค่อยดีเป็นปัจจัยภายนอกที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้เมื่อประเทศคู่ค้าเหล่านี้เศรษฐกิจไม่ดีการ นําเข้าสินค้าจะชะลอตัว จะส่งผลให้อาเซียนซึ่งมีการนําเข้าวัตถุดิบจากไทยไปผลิตส่งออกต่อไปยัง ประเทศคู่ค้าเหล่านี้ลดลงเป็นลูกโซ่
สิ่งที่ไทยต้องเร่งดําเนินการในเวลานี้คือ การปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อรองรับอนาคตข้างหน้า โดยโจทย์ท้าทายมีทั้งเรื่องการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดภาวะโลกร้อน การผลิตสินค้าที่ใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อลดผลกระทบการแข่งขันกับสินค้าที่แข่งขันด้านราคา และใช้แรงงานเป็นหลัก ระบบการปลูกพืชเกษตรที่ต้องเป็นมาตรฐานบังคับในทุกสินค้าเพื่อสร้าง มาตรฐานสู่สากล เป็นต้น
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไทยมองอาเซียนหรือเออีซีว่าเป็นโอกาสที่ไทยจะทําการค้ามากขึ้น แต่ปี ที่ผ่านๆมากลับมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประเทศในอาเซียนผลิตสินค้าออกมาแข่งและพยายาม ที่จะแย่งตลาดกันเอง ประกอบกับมีประเทศนอกกลุ่มต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ลงทุนในประเทศอาเซียน มากขึ้นซึ่งประเทศไทยเองมีศักยภาพในการลงทุนในบางเรื่องเทียบกับประเทศคู่แข่งไม่ได้ที่สําคัญคือ จีน มีแผนที่ชัดเจนในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะระบบขนส่งที่จะเชื่อมต่อกับประเทศอาเซียน เพื่อนําสินค้าจากภาคกลางของจีนเข้ามาจําหน่ายในอาเซียน ดังนั้นจึงมองว่าสงครามการค้าในอาเซียน จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงในปีนี้
"ถ้าอาเซียนไม่หันหน้ามาคุยกันเองผมว่าต่อไปอาเซียนจะอ่อนแอลงเหมือนใครได้เปรียบก็เอา เปรียบไป และสุดท้ายภาพรวมของอาเซียนก็ไม่เข้มแข็งในสายตาชาวโลก ไทยเองผมยังมองไม่ออกว่า ไทยจะได้ประโยชน์อะไร ซึ่งคนที่จะได้ประโยชน์จริงๆคือคนที่เข้มแข็งหรือบริษัทใหญ่ที่จะได้ประโยชน์ แต่เอสเอ็มอีที่จะใช้ตลาดอาเซียนเป็นฐานการขยายกําลังการผลิตก็อาจจะลําบาก ซึ่งมองว่าไม่น่าจะเป็น อนาคตที่สดใสมากสําหรับเอสเอ็มอีเพราะถ้าปรับตัวไม่ทันกับโลกที่เปลี่ยนไปก็จะอยู่ยาก" 1-2% จากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวขึ้นซึ่งจะทําให้อาเซียนนําเข้าสินค้าจากไทยไปผลิตส่งออกมากขึ้น
"ตอนนี้เหลือแต่เมียนมาร์กัมพูชา ลาว ที่ยังพอเป็นตลาดที่จะช่วยให้การส่งออกไทยดีขึ้น แต่ หากเรายังไม่ปรับตัว พอใจอยู่กับการขายสินค้า ไม่เข้าไปทําตลาด หรือไปสร้างดีมานด์เชน หรือมีฐาน การผลิตอยู่ในประเทศนั้นๆ ไม่สร้างนักธุรกิจมืออาชีพรุ่นใหม่ อีก 2-3 ปีเราจะถอยหลังลงไปเรื่อยๆ และสุดท้ายเราจะถูกเวียดนาม เมียนมาร์หรืออินโดนีเซียแซงหน้า"
ด้านนางอภิรดีตันตราภรณ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า จากที่ได้นําผู้แทน จากไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการ (AEM Retreat) ซึ่งเป็นการประชุม รัฐมนตรีเศรษฐกิจครั้งแรกของปี 2558 อันเป็นปีสําคัญของการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี อย่างสมบูรณ์ณ ที่เมืองโกตาบารูรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม ที่ผ่านมา มาเลเซียในฐานะประธานอาเซียนได้เน้นเร่งการดําเนินมาตรการต่างๆ ตามที่อาเซียนตกลงกัน ไว้ให้แล้วเสร็จ โดยมาตรการที่มีความสําคัญในลําดับต้นซึ่งมีผลต่อการค้า ภาคธุรกิจ และรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจของอาเซียนก่อน เช่น การสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs การลดเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีการ สรุปผลการเจรจา RCEP (เขตการค้าเสรีอาเซียน+6) ให้ได้ภายในปี 2558 และมาตรการการอํานวย ความสะดวกทางการค้า
ทั้งนี้ในการลดเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคทางการค้า ทุกประเทศเห็นร่วมกันว่า อาเซียนควรมีกลไก และมีการตรวจสอบข้อร้องเรียนในเรื่องมาตรการที่มิใช่ภาษีซึ่งผู้ประกอบการ ประสบอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม โดยอาเซียนจะปรับปรุงระบบ การรับเรื่องร้องเรียนที่มีอยู่เดิมให้ใช้ได้ง่ายขึ้น และให้แล้วเสร็จภายในปีนี้
อนึ่ง การส่งออกของไทยไปอาเซียนในปี 2557 มีมูลค่า 5.94 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวลดลง 0.20% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่เดือนมกราคม 2558 ส่งออกมูลค่า 4.47 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวลดลง 0.71% โดยสินค้าส่งออก 20 อันดับแรกที่ส่งออกลดลงหรือติดลบ อาทิ น้ํามันสําเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ยาง เป็น ต้น ทั้งนี้ตลาดส่งออกมากสุดของไทยในอาเซียนตามลําดับ ประกอบด้วย มาเลเซีย สิงคโปร์อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์กัมพูชา เมียนมาร์ลาว และบรูไน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.ฐานเศรษฐิกิจ

-
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เยือนศูนย์ซีมีโอเรลค์ (SEAMEO Regional Language Center - RELC) และเป็นประธานเปิดการประชุมนานาชาติของศูนย์ซีมีโอเรลค์ ครั้งที่ 51 ในหัวข้อ Teaching Literacies -...by dogTech
-
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัดงาน Newton UK-South East Asia Innovation...by dogTech
-
เมื่อเร็วๆ นี้ Dr.Susan Rice, National Security Advisor ของสหรัฐ ซึ่งคล้ายๆ กับตําแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติของไทย ได้ไปกล่าวสุนทรพจน์ที่ Brookings Institution ซึ่งเป็นThink Tank อันดับ 1 ของสหรัฐ...by Editor
-
ประเทศไทยและประเทศมาเลเซียได้ให้คำมั่นที่จะเพิ่มการเชื่อมต่อในภูมิภาคและให้ความร่วมมือ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยกับภาคเหนือและภาคตะวันออกของประเทศมาเลเซีย...by dogTech