ลบ แก้ไข

ปรับกลยุทธ์ไมซ์ไทย ปี 2558 รับเออีซี



       ปี 2558 ถือเป็นปีแห่งความท้าทายของอุตสาหกรรมไมซ์เนื่องจากเป็นปีที่ประเทศไทยจะก้าวสู่ การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทุกภาคส่วนจึงจําเป็นต้องร่วมมือขับเคลื่อนกันอย่างแข็งแรงและ เข้มข้น เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นําอุตสาหกรรมไมซ์ในระดับอาเซียน โดยในปีนี้ทีเส็บยังคงเดินหน้า ผลักดันการพัฒนา
อุตสาหกรรมไมซ์ตามวิสัยทัศน์องค์กรในการทําให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักใน การจัดประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การจัดประชุมนานาชาติและการแสดงสินค้านานาชาติ (อุตสาหกรรมไมซ์) ในภูมิภาคเอเชีย

      ทีเส็บ ได้กําหนดทิศทางการดําเนินงานตามแผนแม่บทอุตสาหกรรมการจัดประชุมและการแสดง สินค้านานาชาติปี 2555-2559 ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่กลยุทธ์การดึงงาน (WIN) ด้วยการประมูลสิทธิ์ และการดึงงานเข้าประเทศ กลยุทธ์การส่งเสริม (Promote) ในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของไทยใน ฐานะศูนย์กลางของอุตสาหกรรม ไมซ์และกลยุทธ์การพัฒนา (Develop) การเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย ภายใต้ 8 ยุทธศาสตร์อันประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การรักษา ตลาดเดิมและขยายตลาดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Top of Mind ของ ไมซ์ในเอเชีย ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสนับสนุนอุตสาหกรรม D-MICE ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเมืองแห่งไมซ์ในการรองรับการเป็นผู้นําการจัดงานไมซ์ในภูมิภาค ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้าง ความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาขีดความสามารถ โครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมไมซ์ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเสริมสร้างความเข้มแข็งระหว่างเครือข่ายความ ร่วมมือทั้งในและต่างประเทศ และยุทธศาสตร์ที่ 8 การยกระดับศักยภาพและบทบาทของทีเส็บ

     พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มความเข้มข้นด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นการดําเนินงาน ภายใต้กลยุทธ์ 4 P หรือ Public-Private-People-Partnership ซึ่งเป็นโครงสร้างการบริหารความ ร่วมมือในการส่งเสริมธุรกิจไมซ์ตามกลยุทธ์การตลาดธุรกิจไมซ์แห่งอาเซียน ที่เน้นการดําเนินงานด้าน ส่งเสริมตลาด การพัฒนาด้านข้อมูล การตลาด และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไมซ์ระหว่างหน่วยงานภาคีอุตสาหกรรมไมซ์ระดับอาเซียน โดยนํามาประยุกต์ในการกําหนดกลยุทธ์ทาง การตลาดไมซ์ของไทยในปี 2558 นี้โดยตลาดไมซ์ต่างประเทศ ทีเส็บเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักในตลาด เอเชีย โอเชียเนีย ร้อยละ 60 ตลาดยุโรป อเมริกาเหนือร้อยละ 20 และตลาดแอฟริกา ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง ร้อยละ 20 มีเป้าหมายที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่กลุ่มลูกค้าและเพิ่มจํานวนนัก เดินทางกลุ่มไมซ์จากต่างประเทศด้วยการส่งเสริมการประมูลสิทธิ์การจัดงานในตลาดระดับบนและตลาด ที่มีการเติบโตสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มจํานวนรายได้สู่อุตสาหกรรมได้มากขึ้น

      กิจกรรมการตลาดไมซ์ต่างประเทศ ประกอบด้วย การจัดตั้งตัวแทนการตลาดใน ต่างประเทศ และการดําเนินกิจกรรมการตลาดของตัวแทนโครงการ VISITOR Promotion - Association ให้การ สนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อกระตุ้นกลุ่มประชุม โครงการส่งเสริมการตลาดของกลุ่มงานแสดงสินค้า นานาชาติอาทิ Be My Guest Plus / Business Matching หรือ CONNECT Business เป็นต้น การ สนับสนุนการเป็นเจ้าภาพการจัดงานไมซ์อาทิ Meetings Industry Day IT&CMA and CTW 2015 การส่งเสริมตลาดไมซ์ด้วยการเข้าร่วมงานเทรดโชว์ในต่างประเทศพร้อม ผู้ประกอบการไมซ์เช่น IMEX AMERICA / EIBTM / AIME / IT&CMA China / IMEX Frankfurt / CIBTM ตลอดจนการส่งเสริม ตลาดไมซ์ด้วยการจัดโรดโชว์การจัดกิจกรรมดูงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพและความพร้อมของ ประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาแบรนด์ส่งเสริมภาพลักษณ์และการจัดทําแผนกลยุทธ์การตลาดผ่าน แคมเปญ Thailand CONNECT โดยทีเส็บตั้งเป้าหมายนักเดินทางกลุ่มไมซ์จากต่างประเทศจํานวน 1,036,300 คน เติบโตจากปีงบประมาณ 2557 ร้อยละ 5 คิดเป็นรายได้จํานวน 106,780 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 10

       ขณะที่ตลาดไมซ์ภายในประเทศ ได้กําหนดกลยุทธ์การพัฒนาด้วยการกระตุ้นการประชุมสัมมนา ภายในประเทศผ่านแคมเปญ "ประชุมเมืองไทย ภูมิใจช่วยชาติ" ขยายตลาดการประชุมและงานแสดง สินค้าในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม (CLMV) ส่งเสริมการ จัดประชุมและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในพื้นที่โครงการพระราชดําริและศูนย์การเรียนรู้ของแหล่ง ท่องเที่ยวทหารทั่วประเทศ ตลอดจนการส่งเสริมการจัดงานแสดงสินค้าภายในประเทศ (D-Exhibition) อย่างเต็มรูปแบบ

      โดยกิจกรรมการตลาดไมซ์ในประเทศ จะสอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ ประชุมสัมมนาและงานแสดงสินค้าผ่านแคมเปญ "ประชุมเมืองไทย ภูมิใจช่วยชาติ"ในจังหวัดเป้าหมาย ทั่วประเทศ ส่งเสริมกิจกรรมไมซ์และกิจกรรมส่งเสริมการขาย Domestic MICE MART และ Familiarization Trip ในจังหวัดไมซ์ซิตี้ได้แก่กรุงเทพ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ขอนแก่น และจังหวัดที่มี ศักยภาพ การออกบูธเคลื่อนที่เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการประชุมเมืองไทย Domestic MICE ทั่ว ประเทศ ส่งเสริมการจัดงานแสดงสินค้าภายในประเทศ (D-Exhibition) และสร้างงานแสดงสินค้าขนาด

       ใหญ่ในจังหวัดไมซ์ซิตี้รวมถึงการขยายตลาดการประชุมและงานแสดงสินค้าในพื้นที่บริเวณตะเข็บ ชายแดนร่วมกับหอการค้าไทยและพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษและกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและ เวียดนาม (CLMV) การส่งเสริมการจัดประชุมและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในพื้นที่โครงการ พระราชดําริและแหล่ง ท่องเที่ยวทหาร การสร้างเวทีการขายในหน่วยงานภาคีเช่น นิคมอุตสาหกรรม หอการค้า และ SET และการกระตุ้นตลาด EXPAT ผ่านตลาดหอการค้าต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย ไต้หวัน จีน เป็นต้น ตลอดจนการทําแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมตลาดในประเทศปี 2560-2564 โดยที เส็บตั้งเป้าหมายนักเดินทางกลุ่มไมซ์ภายในประเทศจํานวน 18,343,500 คน เติบโตจากปี 2557 ร้อยละ 5 คิดเป็นรายได้จํานวน 14,230 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีที่ผ่านมา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BANGKOK POST



 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,831 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ