ลบ แก้ไข

ไทยขาดแรงงานด้านบริการ หวั่นไม่พร้อมเข้าอาเซียนปีนี้

 



          เป็นที่ทราบกันแล้วว่า อาเซียนได้มีการจัดท้าแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว 5 ปี ซึ่งปี 2558นี้จะเป็น ปีสุดท้ายของแผนฯ ส่วนหนึ่งของแผนของอาเซียนที่ส้าคัญคือ มีความพยายามร่วมกันในการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การบริการ และสิ่งอ้านวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวแต่เป็นที่น่าเสียดายที่ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวดังกล่าวยังไม่เป็นที่รู้จักและขาดทรัพยากรสนับสนุนจนไม่ประสบความส้าเร็จเท่าที่ควรในการเตรียมความพร้อมของชาติสมาชิกด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานส้าคัญในธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร และการท่องเที่ยว
 
        ผลการศึกษาของ รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และคณะ จากสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศ
ไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า ประเทศไทยไม่มีนโยบายที่เกี่ยว ข้องกับการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวโดยตรง แต่ที่จริงตลาดแรงงานไทยมีผู้สนใจท้างาน ด้านโรงแรมถึง 2.7 แสนคน ตัวแทนท่องเที่ยว 0.62 แสนคน และท้างานด้านที่เกี่ยวข้องกับอาหารและภัตตาคารสูงถึง 1.9 ล้านคน
 
     โดยในปี 2556 พบว่า มีนักเรียนระดับ ปวช.ปีสุดท้ายประเภทวิชาอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว
มากกว่า 1.3 หมื่นคน ระดับ ปวส.มากกว่า 1.6 หมื่นคน และจบสาขา เกี่ยวกับโรงแรมและการท่องเที่ยวอีกมากกว่า 6,500 คน ซึ่งผู้ที่จะจบการศึกษา เหล่านี้ จะถูกดูดซับเข้าไปในตลาดแรงงานไม่หมด  เนื่องจากผู้เรียนบางคนเห็นว่าการเรียนสาขานี้ เรียนง่าย-จบง่าย แต่ไม่ได้ตั้งใจจริงที่จะท้างานอย่างจริงจังในสาขาที่เกี่ยวข้องกับโรงแรม ภัตตาคาร และการท่องเที่ยว หรือบางคนหันไปเรียนต่อระดับปริญญาโทในสาขาอื่นๆ แทนท้าให้กิจการด้านนี้ขาดแคลนแรงงาน
 
    และคงไม่แปลกใจที่เห็นแรงงานจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเริ่มทยอยเข้ามาท้างานในไทยมาก
ขึ้น โดยเฉพาะจากฟิลิปปินส์และเวียดนาม ขณะที่การเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพของไทยไปยังอาเซียนยังคงมีไม่มากนัก และส่วนใหญ่ไปท้างานในสาขาโรงแรมที่สิงคโปร์และร้านอาหารในมาเลเซีย
 
     จากการศึกษาผลกระทบเชิงลึก พบว่า เหตุผลหนึ่งที่ไทยขาดแคลนบุคลากรระดับต่าง ๆ ในภาค
บริการนี้ เป็นเพราะว่าสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องสาขาโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งในปี 2557 มี
จ้านวนมากกว่า 13,000 แห่ง จากการส้ารวจของส้านักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ความต้องการแรงงานในกลุ่มนี้มีประมาณ 2.7 หมื่นคนต่อปี และยังไม่สามารถหาคนบรรจุได้ภายใน 6 เดือน ซึ่งอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานสูงถึง 1.7 หมื่นคน ซึ่งถ้าพิจารณาจากความต้องการของบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของแรงงานไทย ดังนี้
 
    จากการประเมินคุณภาพของแรงงานไทยจะพบว่า แรงงานไทยไม่ค่อยมีสมรรถนะในวิชาชีพโดด
เด่นมากนัก โดยเฉพาะด้านทักษะการแก้ปัญหา ทักษะคอมพิวเตอร์ การท้างานร่วมกันเป็นทีม เทคนิคการปฏิบัติงาน และที่ส้าคัญเหนืออื่นใดที่เป็นจุดอ่อนของบุคลากรในวิชาชีพนี้ของไทย คือ อ่อนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะ ภาษาอังกฤษ และความสามารถในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะสาขาโรงแรม ภัตตาคาร และร้านอาหาร คนไทยมีสมรรถนะไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้ประกอบการมากที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ


 
 
    จากข้อเท็จจริงที่พบจึงอาจคาดการณ์ได้ว่า แรงงานไทยขาดแคลนทั้งในด้านจ้านวนและคุณภาพ
ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเพิกเฉยจะพบว่า การเป็นประชาคมอาเซียน ส่งผลให้ธุรกิจด้านโรงแรม ภัตตาคาร และการท่องเที่ยวเติบโตยิ่งขึ้น แต่คนไทยอาจไม่สามารถตักตวงผลประโยชน์ได้มากเท่าที่ควร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาชาติธุรกิจ
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 3,338 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญต่อต้นทุนการดำเนินชีวิต และเป็นต้นทุนสำคัญของการผลิตในระบบอุตสาหกรรมชาติอาเซียน โดยเฉพาะสิงคโปร์และไทยต่างกำลังมองหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ เพื่อตอบรับกับปริมาณการบริโภคในปัจจุบันอย่างสมดุล กรมอาเซียน...
    by Editor Bow
  • นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หัวหน้าคณะเจรจา RCEP ของไทยเปิดเผยว่า ในการประชุม RCEP-TNC ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 23 29 เมษายน 2559 ณ เมืองเพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย...
    by dogTech
  • คณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว มีมติเห็นชอบในหลักการกำหนดเงื่อนไขให้ อัตราส่วนภาครัฐ รัฐวิสาหกิจจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นผู้ประสานงานด้านภาษาเมียนมา ลาว กัมพูชาตามความจำเป็นเหมาะสม ให้เอกชนที่มีลูกจ้าง 100 คน...
    by dogTech
  • ปีนี้กองทัพประชาชนลาวผงาดขึ้นอันดับหนึ่ง คว้ารางวัลเหรียญทอง พร้อมถ้วยชนะเลิศ ในการแข่งขันยิงปืนกองทัพบกกลุ่มอาเซียน ประเภททีมปืนสั้นชาย เป็นเหรียญแรกในรอบ 15-16 ปี จากที่ไม่เคยได้รับรางวัล และ...
    by dogTech

สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ