ลบ แก้ไข

อาเซียนกับการต่อต้านการทําประมงที่ผิดกฎหมาย


 


      นอกเหนือไปจากการถูกตัดสิทธิ GSP ในทุกประเภทสินค้าที่ส่งจากประเทศไทยไปสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไปแล้ว ความเสี่ยงที่จะได้รับ ใบเหลืองจากสหภาพยุโรป ในกรณีการทําประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU) ได้ทวีความกังวลใจให้กับผู้ส่งออกสินค้าประมง ไปยังตลาดสหภาพยุโรปเป็นอย่างมาก
 
     สหภาพยุโรปในฐานะกลุ่มประเทศที่นําเข้าและส่งออกสินค้าประมง เป็นอันดับต้นๆ ของโลกเล็งเห็นถึงภัยคุกคามที่เกิดจากการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) อันส่ง ผลกระทบต่อจํานวนทรัพยากร
สัตว์น้ําและสิ่งมีชีวิตทางทะเลและปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง จึงสานต่อแผนปฏิบัติการต่อต้านการทําประมงที่ผิดกฎหมายซึ่งริเริ่มโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในปี2554โดยบัญญัติ Regulation (EC) No. 1005/2008 (IUU Regulation) เพื่อป้องกัน ขัดขวางและกําจัดการทําประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
 
    IUU Regulationกําหนดให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศที่สาม ที่ส่งออกสินค้า
ประมงเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปต้องรับรองที่มาและการได้มาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของสินค้าประมงกล่าวคือ ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศ ผู้ส่งออกสินค้าประมงสู่สหภาพยุโรปต้องมีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าสินค้าประมงดังกล่าวมาจากเรือประมงที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปราศจากการใช้แรงงานบังคับ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ยอมรับกันในทางระหว่างประเทศ
 
    หากมีพฤติการณ์ว่าประเทศใดไม่มีการต่อต้านการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) อย่างเพียงพอ
อาทิขาดการบริหารจัดการความบกพร่องด้านการติดตามและควบคุม การทําประมง คณะกรรมาธิการยุโรป (EU Commission) จะมีการประกาศเตือน โดย การให้ใบเหลืองแก่ประเทศดังกล่าวซึ่งจะยังไม่มีผลกระทบต่อการค้าสินค้าประมงกับสหภาพยุโรป ประเทศที่ได้รับใบเหลืองจะต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นหากผ่านพ้น 6 เดือนหลังจากการได้รับใบเหลืองแล้ว สถานการณ์การต่อต้าน การทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) ในประเทศดังกล่าวยังไม่ดีขึ้น สหภาพยุโรปจะดําเนินการประกาศให้ใบแดง และห้ามนําเข้า (ban) สินค้าประมงจากประเทศดังกล่าว
 
    อนึ่ง สหภาพยุโรปประกาศให้ใบแดงและห้ามนําเข้าสินค้าประมงทุกชนิดจากประเทศกัมพูชา
เมื่อเดือนมีนาคม 2557 ด้วยเหตุที่กัมพูชาไม่ให้ความร่วมมือในการบรรเทาสถานการณ์การทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) หลังจากได้รับใบเหลือง ฟิลิปปินส์ก็เคยได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 โดยปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ขยายระยะเวลาประเมินสถานการณ์ต่อต้านการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) ของฟิลิปปินส์ออกไปอีก 6 เดือน ในส่วนของประเทศไทย แม้ว่าสหภาพยุโรปจะยังมิได้ประกาศให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทย รัฐบาลก็ได้มีมาตรการเพื่อยกระดับความเข้มงวดในการต่อต้านการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) เช่น การแก้ไขพระราชบัญญัติประมง การจัดทําระบบติดตามตําแหน่งเรือ
 
    เมื่อพิจารณาข้อมูลการค้าสินค้าประมงระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป จะพบว่า ประเทศ
สมาชิกอาเซียนได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มีสัดส่วนการส่งออกสินค้าประมงสู่ตลาดสหภาพยุโรปสูง เป็นอันดับต้นๆ โดยในปี 2556เวียดนามส่งออกเนื้อปลาแช่แข็ง (HS 0304) และกุ้งแช่แข็ (HS 0306)ไปยังสหภาพยุโรปมีมูลค่าเฉลี่ย 4.8 และ 2.4 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลําดับ
 
   1. แนวปฏิบัติสําหรับรัฐเจ้าของธงเรือ (Flag State Guideline) ให้มีระบบ การจดทะเบียน พัก
หรือถอนทะเบียนอย่างมีประสิทธิภาพ และเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเรือประมง
   2. มาตรการสําหรับรัฐท่าเรือ (Port State Measures) ซึ่งจะต้องมีระบบ ตรวจสอบหลักฐาน
การทําประมงของเรือประมงหรือสินค้าประมงว่ามาจากการทําประมง ที่ผิดกฎหมาย (IUU) หรือไม่และยับยั้งการให้ความช่วยเหลือเรือประมงที่ผิดกฎหมาย เช่น การอนุญาตให้เติมน้ํามัน เสบียง การเข้าท่าเรือ โดยจะต้องแจ้งไปยังรัฐเจ้าของ ธงเรือด้วย
   3. มาตรการสําหรับรัฐชายฝั่ง (Coastal State Measures) รัฐชายฝั่งจะต้องปรับปรุงกฎหมาย
ภายในของตน เพื่อป้องกันการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) อย่างเคร่งครัด
 
    ผลจากการประชุม AFCFB ครั้งล่าสุด เมื่อเดือนธันวาคม 2557 ฟิลิปปินส์แสดง ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) โดยชี้แจงต่อที่ประชุมถึงการจัดทําแผนปฏิบัติการแห่งชาติในการต่อต้านการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (National Plan of Action: NPOA-IUU)
 
     ความพยายามของอาเซียนต่อการต่อต้านการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) จะเป็นที่ยอมรับใน
สายตานานาอารยประเทศได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับมาตรการที่อาเซียนกําหนดขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิจารณาการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน หากอาเซียนสามารถปราบปรามการทําประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากการรักษาตลาดสินค้าประมง ก็ยังเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ซึ่งส่งเสริมนโยบายความมั่นคงทางอาหารของอาเซียนด้วยเช่นกัน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรุงเทพธุรกิจ 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,475 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean