ลบ แก้ไข

" ประยุทธ์ " จี้เตรียมตัวสู่เออีซีก้าวถึงเป้าไทยศูนย์กลางอาเซียน จุดเชื่อมโยงทุกด้านคค.-ค้า-ลงทุน

 


      นายณรงค์ชัย อัครเศรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงาน "Beyond AEC
2015" จัดโดยสมาพันธ์เศรษฐศาสตร์อาเซียน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ว่าไทยมีความพร้อมร่วมมือกลุ่ม
ประเทศอาเซียนยกระดับเศรษฐกิจของภูมิภาคเป็นรูปแบบดิจิตอลเพื่อเชื่อมโยงการค้า บริการ และการลงทุนสะดวกมากขึ้น หลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีปลายปีนี้ทั้งนี้หนึ่งในประเด็นที่กลุ่มอาเซียนหารือเรื่องความมั่นคงทางพลังงานคือการเตรียมออกกฎระเบียบเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าหรืออาเซียนกริดระหว่างประเทศที่ไม่มีชายแดนติดกัน จากปัจจุบันเชื่อมโยงเฉพาะประเทศที่มีชายแดนติดกันเท่านั้น ส่วนระบบท่อส่งก๊าซและน้ํามัน หรืออาเซียนไปป์ไลน์จําเป็นต้องเชื่อมต่อท่อจากฝั่งตะวันออกไปช่วยเหลือฝั่งตะวันตก เพื่อรองรับความเสี่ยงกรณีแหล่งก๊าซพม่าหยุดซ่อมบํารุงที่เกิดขึ้นทุกป
 
     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวในงานเดียวกันว่า หลัง
เปิดเออีซีไทยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางราง ถนน และอากาศ
โดยเฉพาะการเชื่อมโยงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษระหว่างแนวชายแดน อาทิเตรียมก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ําเมยแห่งที่ 2 เชื่อม อ.แม่สอด จ.ตาก กับ จ.เมียวดีของพม่า และเชื่อมโยงระบบรางโดยจะพัฒนารถไฟให้ครอบคลุมอาเซียนและจีน ขณะที่ทางอากาศจะเปิดช่องทางการขนส่งสินค้า ส่งเสริมการบินระหว่างประเทศ รวมถึงเตรียมขยายสนามบินแม่สอดและเปิดสนามบินใหม่ที่เบตง
 
    นายอาคมกล่าวด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดการเตรียมความ
พร้อมของไทยในการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน หลังปีนี้จะต้องเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งทั้งทางถนนและทางราง นอกจากโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ําเมยแห่งที่ 2 แล้ว ยังมีการพัฒนาด่านใน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยจะหารือกับรัฐบาลกัมพูชาเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระบบรางกับประเทศต่างๆ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา ที่สามารถทําได้เร็วสุดคือรถไฟไทยกับประเทศทางใต้ของอาเซียน คือ เส้นทางรถไฟจากประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์ที่ปัจจุบันมีการเดินรถไฟสาย Oriental Express แต่หลังเปิดเออีซีแล้วจะเดินรถไฟเชิงพาณิชย์ด้วย และยังมีเส้นอื่นๆ ที่เชื่อมโยงในอาเซียน ได้แก่ ความร่วมมือกับรัฐบาลจีนสายกรุงเทพฯหนองคาย ที่เชื่อมนครเวียงจันทน์ของ สปป.ลาว และยังมองถึงรถไฟเชื่อมจากกรุงเทพฯไปมุกดาหาร รถไฟสายตะวันตก-ตะวันออก ท่าเรือน้ําลึกทวายในพม่าไปท่าเรือแหลมฉบัง จะช่วยให้เอกชนลดต้นทุนการขนส่งได้มากขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นสพ.มติชน
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 1,863 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ