ลบ แก้ไข

ปฏิวัติฟาร์มโคนม ยุค AEC ห้ามเลี้ยงลูกวัว

     แม้ประเทศไทยจะสามารถเลี้ยงโคนมได้ดีที่สุดในอาเซียน แต่การผลิตน้ำนมยังได้เพียง 14 กก./ ตัว/วัน ในขณะที่เกณฑ์มาตรฐานต้องได้ 17 กก./ตัว/วัน ที่ผ่านมาแม้จะมีการนำเทคโนโลยีคัดสายพันธุ์มาช่วยก็ตาม แต่ผลผลิตยังไม่ได้ตามเป้า สาเหตุเนื่องจากระบบการเลี้ยงลูกวัวของเกษตรกรในบ้านเรายังไม่ดีพอ กรมปศุสัตว์จึงปฏิวัติระบบการเลี้ยงลูกวัว ใหม่ทั้งระบบ เพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC
 


 

 

     น.สพ.อยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยว่า เกษตรกรเลี้ยงลูกวัวในวัยหลังหย่านมไม่ถูกต้อง ยังคงเลี้ยงตามธรรมชาติ ช่วงไหนมีเงินก็ให้ลูกวัวกินดี มีอาหารข้นเสริม แต่หากวันไหนรายได้น้อย จะปล่อยให้กินหญ้า กินฟาง จึงทำให้ลูกวัวที่เติบโตมาเป็นแม่วัวที่ไม่สมบูรณ์เต็มที่ ให้ปริมาณ น้ำนมไม่ได้ตามที่ควรจะเป็นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้กำหนด การปรับโครงสร้างการผลิตการเลี้ยงโคนมยุค AEC ใหม่ โดยให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงลูกวัวใหม่ แต่ก่อนเคยเลี้ยงไว้ในฟาร์ม แต่จากนี้จะให้เกษตรกรเลี้ยงลูกวัวไว้ในฟาร์มได้แค่เพียง 2 เดือน จากนั้นจะต้องนำลูกวัวติดเครื่อง หมาย เพื่อให้รู้ว่ามาจากฟาร์มไหน ใครเป็นเจ้าของ เพื่อจะนำไปขายให้สหกรณ์ในโครงการแต่ละแห่งรับช่วงนำไปขุนเลี้ยงต่อ เมื่อลูกวัวโตเต็มที่เป็นวัวสาวพร้อมผสมพันธุ์ เจ้าของเดิมจะได้รับสิทธิ์ในการซื้อกลับคืนเป็นคนแรก และหากเจ้าของเดิมไม่ต้องการ รายอื่นถึงจะได้รับสิทธิ์ซื้อต่อ

 
 
 “เราไม่ให้เกษตรกรเลี้ยงลูกวัวด้วยตัวเอง เพราะจะกลายเป็นภาระ สู้เอาเวลาทั้งหมดไปทุ่มเทให้กับการเลี้ยงแม่วัว ทำความสะอาดควบคุมดูแลโรงเรือนให้ดี ทำให้นมวัวที่รีดออกมามีคุณภาพ ขายน้ำนมได้ราคา จะได้ไม่ต้องถูกหักค่าปนเปื้อนสิ่งเจือปน และการให้สหกรณ์นำลูกวัวไปขุนเลี้ยง นอกจากทำให้เกษตรกรได้วัวสาวทดแทนเติบโตสมบูรณ์กลายเป็นแม่วัวคุณภาพแล้ว วิธีการนี้ยังช่วยป้องกัน การลักลอบนำโคพันธุ์ดีส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย” น.สพ.อยุทธ์ กล่าว.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.thairath.co.th/
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,716 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ