ลบ แก้ไข

หวั่นอุดมศึกษาไทยล้าหลังสุดในกลุ่มอาเซียน

 
หวั่นอุดมศึกษาไทยล้าหลังสุดในกลุ่มอาเซียน

      ชูสหกิจศึกษา เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาศักยภาพ คุณภาพของบัณฑิตไทยให้พร้อมก้าวสู่การทำงานและการแข่งขัน “พินิติ” เผยจากการร่วมประชุม Going Dlobal ที่ประเทศอังกฤษ มีการเสนอข้อมูลการศึกษาใน 9 ประเทศอาเซียน พบคุณภาพวิชาการ ความรู้ นวัตกรรมของมาเลเซียนำหน้าไทย ทั้งที่มหา’ลัยน้อยกว่า ขณะที่เวียดนามตามหลังมาติดๆ ไทย เล็งเสนอข้อมูลต่อ กกอ. เตรียมแผนรับมือหวั่นหากปล่อยไว้ไทยจะล้าหลังที่สุดในกลุ่มอาเซียน
       
       รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “สหกิจศึกษา : กลไกการพัฒนาบัณฑิตสู่สากล” ตอนหนึ่งในงานวันสหกิจศึกษาไทย ครั้งที่ 6 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า สหกิจศึกษาเป็นการตอบโจทย์ที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถบัณฑิตไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล ตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ซึ่งการผลิตบัณฑิตต้องตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคม และการแข่งขันการเข้าสู่การทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเวลานี้กำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การแข่งขันจึงไม่ใช่เฉพาะแค่ 60 ล้านคนเท่านั้น แต่จะมากถึง 600 ล้านคน ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มากที่ไทยต้องเร่งปลูกฝัง และพัฒนานิสิต นักศึกษาให้มีความรู้ และได้ปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการก่อนสำเร็จการศึกษา
       
       “ในการประชุม Going Global 2015 ที่สหราชอาณาจักร เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการนำเสนอข้อมูลคุณภาพการศึกษาในบริบทอาเซียนของ 9 ประเทศ ซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ไม่มีการนำเสนอข้อมูลของประเทศสิงคโปร์ทั้งที่เป็นประเทศในอาเซียน โดยผู้นำเสนอให้เหตุผลว่า เป็นประเทศที่มีมาตรฐานคุณภาพสูงเกิน 9 ประเทศไปแล้ว นอกจากนี้ ยังพบว่า ข้อมูลในเรื่องคุณภาพวิชาการ ด้านความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษานั้น ประเทศมาเลเซียสามารถผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ได้มากกว่าประเทศไทยกว่า 1 เท่าตัว ทั้งที่มาเลเซียมีสถาบันอุดมศึกษาน้อยกว่าไทย ขณะที่ประเทศเวียดนามตามหลังไทยมาติดๆ ดังนั้น ชาวอุดมศึกษาต้องคิดให้หนัก เพราะหากปล่อยไว้แบบนี้จะเป็นอันตรายสำหรับไทยมาก ซึ่งผมจะนำข้อมูลดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุม กกอ. เพราะถ้าเรายังยืนอยู่กับที่ หรือก้าวเดินอย่างช้าๆ คงล้าหลังประเทศในกลุ่มอาเซียนแน่นอน" รศ.ดร.พินิติ กล่าวและว่า แม้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะดูแลเรื่องมาตรฐานหลักสูตร แต่ในความเป็นจริงแม้จะมีกรอบมาตรฐานที่เข้มข้น แต่หากมหาวิทยาลัยไม่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพอย่างจริงจัง บัณฑิตที่จบออกไปจะมีคุณภาพคงเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพ สมรรถนะ และศักยภาพของบัณฑิต ซึ่งสหกิจศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ โดยจะทำให้เด็กมีทักษะ เข้าใจวิชาชีพ และพร้อมออกไปทำงานมากขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์

 
 

เกี่ยวกับประเทศ

 

Editor
ชม 2,129 ครั้ง
 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • นักศึกษาร้องตะโกนประท้วงต่อต้านกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ที่ระบุว่าเป็นกฎหมายที่ควบคุมเสรีภาพทางวิชาการ และเรียกร้องให้ตั้งกฎหมายการศึกษาที่เป็นประชาธิปไตย ต่อเนื่องกัน 3 วันตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย....
    by Editor
  • วันก่อนไปออกทีวีเรื่อง Digital Economy พอมานั่งย้อนดูวิดีโอก็เห็นว่าน่าสนใจดี เลยขออนุญาตเอามา แชร์ผู้ที่สนใจครับ DIGITAL ECONOMY ตอนที่ 1 เทคโนโลยี ตอนที่ 2 การศึกษา...
    by Editor
  • ศธ.เปิดการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาอาเซียนอย่างเป็นทางการ พร้อมดันความร่วมมือทางการศึกษากับประเทศสมาชิกอาเซียน วันนี้(7 พ.ค.) ที่โรงแรมรอยัล คลิฟบีช ชลบุรี กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)...
    by Editor
  • อันที่จริงหลักสูตรการเรียนในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับ เพื่อนบ้านของเรานั้น มีเปิดสอนในระดับปริญญาตรีมากกว่า 14 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์...
    by Editor

สงวนลิขสิทธิ์ © 2556 uAsean.com มหานครอาเซียน Developed By Upbean ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการให้บริการ