ไทยศูนย์กลางอาเซียน?
   

     การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ถือเป็นโอกาส ที่ดีที่ไทยต้องเร่งพัฒนาศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมและผลประโยชน์ ที่ไทยควรจะได้รับ ในบทความนี้จะกล่าวถึงความน่าสนใจของไทยในการเป็นศูนย์กลางทางด้านธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว ประเทศไทยมีเส้นทางการคมนาคมที่เชื่อมต่อหลายประเทศในอาเซียน มีการคาดหวังกันว่าในอนาคต กรุงเทพฯ จะเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวและเป็นจุดศูนย์กลางของการเดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
 
     อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย ที่สามารถสร้างรายได้หลายแสนล้านบาทต่อปี ไทยถูกจัดอันดับเป็นเมืองน่าท่องเที่ยวหลายปีติดต่อกันดังนั้น ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของไทยควรวางนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชัดเจน และมีการท าการตลาดการท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศ โดยก าหนดลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายกับรูปแบบการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงนานาอารยธรรม ตลอดจนสร้างแบรนด์สินค้าไทยในธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น การบริการประทับใจด้วยเอกลักษณ์ความเป็นคนไทย อาหารไทย การนวดแผนไทย ผลักดันให้สามารถใช้บัตรวีซ่าแบบ single visa เพื่อความสะดวกในการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน

     วิสัยทัศน์ส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางด้านธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน หรือ Regional Shopping Hub นั้นเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็น ศูนย์กลางการมาเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลก (World Class Destination) เป็นสวรรค์แห่งการช็อปปิ้งโดยมีนโยบายและกลยุทธ์ในการทุ่มเม็ดเงินลงทุนในช่วงปี 2014-2016 ในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ในรูปแบบศูนย์การค้าแบบ Mega Project อย่างต่อเนื่อง ทั้งย่านการซื้อสินค้า หรือ Shopping Street ใจกลางเมือง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ แยกปทุมวัน ศูนย์การค้า MBK, Siam Discovery, Siam Center, Siam Paragon ราชประสงค์ Central World, Platinum Fashion Mall, Central Chidlom, Central Embassy ต่อเนื่องไปบนถนนสุขุมวิทไปจนถึงย่านพร้อมพงศ์ ที่ต้องการพัฒนาและยกระดับ ให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งการช็อปปิ้งของภูมิภาคเอเชีย เทียบระดับกับ ย่านถนนช็อปปิ้งระดับโลกอย่าง ฟิฟท์ อเวนิว ในมหานครนิวยอร์ก ฌอง เซลิเซ่ ของฝรั่งเศส และชินจูกุ ประเทศ ญี่ปุ่น ปัจจุบันไทยมีก าแพงภาษีน าเข้าที่สูง สมาคมศูนย์การค้าไทยกล่าวว่าหากจะให้สามารถสร้างศักยภาพในการแข่งขันด้านสินค้าแบรนด์เนมได้ ภาครัฐควรพิจารณา ลดภาษีน าเข้า ตลาดของไทย ทำให้สามารถแข่งขันกับสิงคโปร์และฮ่องกง
 
      นอกจากนี้ ไทยมุ่งรองรับกลุ่มเป้าหมายระดับสูง (New Asia Luxury) อย่างจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม รวมไปถึง รัสเซีย อันเป็นกลุ่มประเทศที่มีก าแพงภาษีสูงและเป็นกลุ่มประเทศที่ติดอันดับการจับจ่ายสูงสุด หากสามารถดึงคนกลุ่มนี้เข้ามาจับจ่ายในไทยจะช่วยให้กระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ทั้งตลาดค้าปลีกและอุตสาหกรรมใกล้เคียง หากรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุน ธุรกิจค้าปลีกไทยจะสามารถแข่งขันในการเปิดเสรีธุรกิจบริการได้อย่างแท้จริง เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตามแผนที่วางไว้ การรวมตัวเป็นฐานการผลิตและตลาดเดียวในภูมิภาคเพื่อยกระดับศักยภาพการลงทุนและการแข่งขันในระดับโลก ประเทศไทยถูกจัดอันดับที่ 1 ในเอเชียและในภูมิภาคประเทศอาเซียนในด้านการลงทุนและการตั้งถิ่นฐานการผลิต เนื่องจากประเทศไทยมีจุดแข็งอยู่หลายประการไทยเป็นศูนย์กลางของระบบการขนส่งโลจิสติกส์ไปยังประเทศต่าง ๆ การลงทุน ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยนั้นมีราคาต่างมีฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพและการผลิตที่ได้มาตรฐาน ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ ให้ความไว้ใจในการมาตั้งถิ่นฐานการผลิตในประเทศไทยเป็นจ านวนมากโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ตอบรับประเทศไทยเป็นอย่างดี

      โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับเอสเอ็มอี ทั้งกลุ่มที่มาลงทุนตั้งโรงงานผลิตกับกลุ่มที่เป็นผู้ซื้อและทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มลงทุนเพิ่มขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ค่ายรถยนต์รายใหญ่ที่ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย 95-99%   ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการลงทุนและการจัดตั้งส านักงานของธุรกิจข้ามชาติ ที่เข้ามาลงทุนเพื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการในภูมิภาค โดยเมื่อปลายปีที่ผ่านมียอดการผลิตยานยนต์มากถึง 2.45 ล้านคัน มากเป็นอันดับ 9 ของโลก และในอนาคตไทยมีเป้าหมายยอดการผลิตยานยนต์ให้เป็นอันดับ 3 ของโลก ส่วนเรื่องการย้ายฐานการลงทุนไปอินโดนีเซียและมาเลเซียของผู้ประกอบการ ต่างประเทศบางส่วนนั้น ไม่กระทบกับตลาดของไทย เพราะแต่ละประเทศ มียุทธศาสตร์การส่งเสริมการผลิตที่ แตกต่างกัน   หากไทยจะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนก็จะเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายก้าวสู่การเป็นเมืองหลวงของประชาคมอาเซียน ได้ในที่สุด

ขอบคุณที่มา : 
ประชาชาติธุรกิจ
โดย Editor
วันที่ 1 ตุลาคม 2557
พิมพ์หน้านี้