ลงทุนในกัมพูชาไม่ยากแค่ศึกษา-เข้าใจ


      ศรีสะเกษ เป็นชายแดนที่ติดกับ จ.พระวิหาร กับ จ.อุดรเมียนเจย หรือ อุดรมีชัย ประเทศ กัมพูชา ซึ่งมีอ.ภูสิงห์อ.ขุนหาญ และอ.กันทรลักษ์จ.ศรีสะเกษ ซึ่งถือว่า จ.ศรีสะเกษ มีพื้นที่ติดชายแดน ไทย-กัมพูชา เป็นระยะทางยาวหลายร้อยกิโลเมตร มีการเดินทางไปมาหาสู่กัน เพราะฉะนั้นตามชายแดน จึงไม่ค่อยมีปัญหาขัดแย้งในเขตพื้นที่

       นายวิทยา วิรารัตน์ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า การที่ จ.ศรีสะเกษ มีเมืองใหม่ ช่องสะงํา ซึ่งมีพื้นที่ 966 ไร่ ถือเป็น แผนแม่บทที่มีการวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อน ด่านชายแดนจริงๆ แล้ว ควรต้องห่างจากตัวด่านประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ จึงจะสามารถจัดการให้เป็นระบบสากลได้ซึ่งเมื่อมี การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC แล้ว ด่านชายแดนจะถือว่าเป็นด่านที่มีความสําคัญมากที่จะมีการไปมาหาสู่กัน มีการส่งสินค้าเข้า-ออก หรืออะไรต่างๆ ก็จะได้รับความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

       ส่วนนักธุรกิจชาวศรีสะเกษ ขณะนี้เริ่มมีการมาติดต่อปรึกษาด้านการค้าการลงทุนในต่างประเทศ แล้วหลายราย ซึ่งส่วนใหญ่สนใจไปทําธุรกิจในประเทศกัมพูชา แต่ก็มีนักธุรกิจบางส่วนที่กําลังตัดสินใจจะ ไปลงทุนใหม่ก็เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากติดปัญหาอยู่หลายเรื่อง เช่น บางคนยังไม่เข้าใจกฎหมาย ของกัมพูชา โดยเฉพาะเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์อย่างไรก็ตาม อยากจะฝากไปถึงหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์กรมศุลกากร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า การที่จะนําสินค้าเข้า-ออก มีกฎระเบียบข้อบังคับอะไรที่ติดขัดปัญหา โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2558 นี้เป็นปีที่เราจะเข้าสู่ AEC แล้ว กฎหมายบางข้อค่อนข้างติดขัดกับการที่จะออกไปลงทุนมาก

      อย่างไรก็ตามทางหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษยินดีที่จะบริการให้คําปรึกษากับนักธุรกิจและ ประชาชนทุกคนที่สนใจจะไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่กัมพูชา ซึ่งทางประธานหอการค้าจังหวัด อุดรมีชัย และจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา พร้อมที่จะต้อนรับนักธุรกิจชาวไทยที่สนใจจะไปลงทุน ทุกเมื่อ พร้อมจะให้คําปรึกษาในเรื่องดังกล่าวด้วย จึงถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ไปทําธุรกิจลงทุนตรง กลุ่มเป้าหมายอีกด้วย

      ด้าน นายนพดล ร่วมคิด อายุ 50 ปีนักธุรกิจไทย ชาวศรีสะเกษ ที่ไปประสบผลสําเร็จในกัมพูชา เล่าว่า ตนเคยทํางานเป็นลูกจ้างของโรงแรมแห่งหนึ่ง ในตําแหน่งเริ่มต้นตั้งแต่เป็นพนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ จนถึงผู้จัดการฝ่ายต้อนรับ อยู่ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ประสบการณ์การทํางาน ด้านโรงแรมทั้งหมด 15 ปีจากนั้นเริ่มมีความคิดอยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง จึงได้ลาออกจากงานแล้ว กลับมาอยู่ที่บ้านเกิด ซึ่งได้เริ่มทํากิจการเล็กๆ โดยเช่าแผงร้านค้าอยู่บริเวณช่องสะงํา ชายแดนไทย- กัมพูชา อ.ภูสิงห์จ.ศรีสะเกษ เริ่มจากเปิดร้านขายผักสด เพราะคิดว่าจะได้ผลตอบแทนดีแต่ปรากฏว่า ประสบภาวะขาดทุน

      จากนั้นจึงได้มีแนวคิดทําการค้าใหม่โดยการรับซื้อและจําหน่ายชัน หรือยางไม้หรือขี้ไต้ซึ่งใน ขณะนั้นถือว่าเป็นสินค้าที่ได้ผลตอบแทนเป็นอย่างดีแต่ก็มาติดปัญหาตรงช่วงหน้าฝน วัตถุดิบเหล่านี้จะ หาค่อนข้างยาก ธุรกิจจึงชะงัก จนต้องผันตัวไปเปิดร้านอาหารแต่ก็ไม่ประสบผลสําเร็จ ชีวิตค่อนข้าง ล้มลุกคลุกคลานบ่อยครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม จนเกือบหมดตัว เหลือเงินติดตัวอยู่เพียง 2,500 บาท จากนั้นได้ตัดสินใจเดินทางข้ามประเทศไปหางานทําอยู่ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยได้เริ่มนํา ประสบการณ์ด้านการโรงแรมที่เคยทํางานมาก่อน ไปสมัครงานที่โรงแรมอังกอร์พาราไดซ์ในตําแหน่ง รองผู้จัดการทั่วไป และได้เลื่อนตําแหน่งเป็นผู้จัดการทั่วไป ทํางานอยู่ได้ประมาณ 1 ปีเศษ ก็ได้เริ่มศึกษา เรียนรู้วัฒนธรรมและมองหาธุรกิจที่เหมาะกับตนเอง จนได้พบกับหญิงสาวชาวกัมพูชาคนหนึ่งซึ่งปัจจุบัน เป็นภรรยาตน ได้ร่วมลงทุนทําธุรกิจด้วยกัน จึงเริ่มศึกษาและทําธุรกิจทัวร์นําคนไทยมาเที่ยวที่ประเทศ กัมพูชา โดยมีไกด์ทั้งชาวไทยและกัมพูชาคอยให้คําปรึกษา ซึ่งมีการจดทะเบียนการค้าเปิดเป็นบริษัทอังกอร์เอเซียน ฮอลิเดย์จํากัด อย่างถูกต้องตามกฎหมายไทยและกัมพูชา

       สําหรับอุปสรรคในการทําธุรกิจทัวร์ในขณะนั้น คือ คนไทย ไม่ค่อยกล้าที่จะเข้าไปท่องเที่ยวใน ประเทศกัมพูชา เนื่องจากเกรงจะได้รับอันตราย เกรงเรื่องความปลอดภัย ซึ่งแม้แต่นักธุรกิจใหม่ๆ เอง ก็ ยังไม่มีความเชื่อมั่นสักเท่าไหร่ในขณะนั้น ทําให้ไม่ค่อยมีคนไทยที่เป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่สนใจลงทุนมากนัก เนื่องจากในขณะนั้นการเดินทางระหว่างช่องสะงําไปยังเมืองเสียมราฐ ค่อนข้างไปมาลําบาก ในช่วง หน้าแล้งจะใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 5-6 ชม. แต่ในช่วงหน้าฝนนั้นจะใช้เวลาประมาณ 9-12 ชม. เนื่องจากเส้นทางในตอนนั้นยังไม่ได้เป็นถนนลาดยางอย่างเช่นปัจจุบัน

      ผิดกับในปัจจุบันนี้คนไทยเริ่มเข้าไปท่องเที่ยวยังประเทศกัมพูชามากขึ้น และทางส่วนราชการ ของประเทศกัมพูชาค่อนข้างให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวไทยเป็นอย่างดีตนจึงได้เริ่มมีความมั่นใจและ มองเห็นอนาคตทางธุรกิจค่อนข้างชัดเจน จึงได้เริ่มมีแนวคิดจะลงทุนทําธุรกิจโรงแรม ขนาด 70 ห้อง โดยการเช่าอาคารพาณิชย์ 6 ชั้น ทําสัญญาเช่า 10 ปีซึ่งปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมด 64 คน ตนคิดว่าเป็น เพียงการประสบความสําเร็จในระดับหนึ่งแต่ยังไม่ถึง 100% ทั้งนี้สิ่งที่ทําให้ตนประสบผลสําเร็จมาได้ถึง วันนี้ตนเชื่อว่าเกิดจากความจริงใจ ความซื่อสัตย์โดยเฉพาะการรักษาคําพูด การรักษาสัญญาเป็นเรื่องที่ สําคัญที่สุด ในหมวดหมู่ของนักธุรกิจทั่วไป อีกประการหนึ่งชาวกัมพูชาจะชอบการเปิดใจพูดคุยแบบ ตรงไปตรงมาโดยเฉพาะคนที่ทําธุรกิจด้วยกันถ้ามีข้อปัญหาใด ๆ เมื่อได้พูดคุยกันแล้ว ทุกอย่างจะราบรื่น จนในบางครั้งกลายเป็นเพื่อนสนิทเป็นมิตรสหายกันไปก็มี

      หากสนใจจะไปลงทุนในประเทศกัมพูชา อันดับแรกต้องศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน ซึ่งคนจะเข้า ไปทําธุรกิจแล้วถือหุ้นคนเดียว 100% เป็นไปไม่ได้และไม่ควรไปอ้างอิงกลุ่มมีสีหรือการเมือง ผู้มีอํานาจ จนเกินไป นักธุรกิจควรคุยกับนักธุรกิจโดยตรงจะดีที่สุด และเริ่มจากธุรกิจเล็ก ๆ ก่อน ถ้าเห็นช่องทาง แล้วค่อยขยาย และถ้าจะลงทุนจริง ๆ ควรจะมีทนายมาร่างสัญญาขึ้นและเป็นสักขีพยานด้วยทั้งสองฝ่าย ทุกครั้งจะเป็นการดีที่สุด อย่างไรก็ตาม หากนักธุรกิจไทยสนใจอยากจะเข้าไปทําธุรกิจตนและภรรยา พร้อมจะให้คําปรึกษาอย่างเต็มที่โดยไม่ได้ต้องการผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ เนื่องจากตนอยากช่วยให้ คนไทยทุกคนรู้สึกดีในทางบวก เพราะว่าชาวกัมพูชาเขาค่อนข้างมีความรู้สึกดีในด้านบวกกับคนไทย

       ส่วนธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมที่อยากจะแนะนํา คือ ธุรกิจร้านอาหารไทย โดยเฉพาะอาหาร อีสาน เช่น ร้านส้มตํา ข้าวเหนียว ไก่ย่าง หมูย่าง ลาบ น้ําตก เป็นต้น เนื่องจากขณะนี้ชาวกัมพูชาและคน ทั่วโลกเริ่มนิยมอาหารประเภทนี้มากขึ้น จึงเชื่อว่าหากลงทุนทําธุรกิจประมาณนี้แล้วคาดว่าจะประสบ ผลสําเร็จอย่างแน่นอน


ขอขอบคุณทีมา : นสพ.เดลินิวส์
 
โดย Editor
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558
พิมพ์หน้านี้