“ณรงค์”พร้อมร่วมมือการศึกษากับอาเซียน
ศธ.เปิดการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาอาเซียนอย่างเป็นทางการ พร้อมดันความร่วมมือทางการศึกษากับประเทศสมาชิกอาเซียน

“ณรงค์”พร้อมร่วมมือการศึ     วันนี้(7 พ.ค.) ที่โรงแรมรอยัล คลิฟบีช ชลบุรี  กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ซีเมค ครั้งที่ 48  ซึ่งมีสมาชิกสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งอาเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศอาเซียนเข้าร่วม โดยพล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการเปิดงานว่า  ในโอกาสที่ตนได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานซีเมคต่อจาก รมว.ศึกษาธิการประเทศเวียดนาม ตนตั้งใจจะผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความเข้มแข็ง โดยการประชุมครั้งนี้มีประเด็นสำคัญ 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การต้อนรับหน่วยงานใหม่เข้าร่วมเป็นหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสมทบได้แก่ China Education Association for Internation
    Exchange หรือ CEAIE(ซีอีเอไออี) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเข้มแข็ง  มีความมุ่งมั่นและเจตนารมย์เดียวกับซีมีโอ  2. ฉลองครบรอบ 50 ปี ในการก่อตั้งองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีมีโอ โดยตลอด 50 ปีที่ผ่านมา องค์การซีมีโอได้ดำเนินงานที่สะท้อนถึงการรวมพลังของประเทศสมาชิกและศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอ เพื่อเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค โดยได้มอบรางวัลให้แกผู้ทำประโยชน์ให้กับองค์กรจำนวน 6 ราย สำหรับประเทศไทยผู้ที่ได้รับรางวัลคือ นายอดุล  วิเชียรเจริญ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการซีมีโอ ที่มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มขยายความร่วมมือขององค์กรซีมีโอคู่กับภาคีอื่น ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค

      รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า   3. การรับตำแหน่งประธานซีเมคของประเทศไทยในช่วง 2 ปีหลังจากนี้ ซึ่งตนยืนยันจะสืบสานภารกิจการดำเนินงานของซีมีโอให้เป็นไปด้วยความต่อเนื่องและมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยจะผลักดัน พัฒนาความร่วมมือกับประเทศสมาชิก  เพื่อให้มีการลงทุนด้านการศึกษา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค สร้างพลเมืองโลกอย่างมีประสิทธิภาพ 4. กำหนดให้มีการประชุมเชิงนโยบายในหัวข้อการเรียนรู้ดิจิตอล เพื่อพลเมืองโลกในอนาคต และเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสามารถปรับใช้ในบริบทประเทศนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม 5.การพัฒนาการศึกษาระดับชาติของไทย ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี รวมถึงมีกลไกในการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต และ6. ในปี 2015 เป็นแห่งการเชื่อมต่อการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ทุกประเทศต้องดำเนินการให้บรรลุผลและสอดคล้องกับเป้าหมายวาระการพัฒนาของสหประชาชน       ศ.ดร.ฟาม วู ลุน รมว.ศึกษาธิการและฝึกอบรม ประเทศเวียดนาม กล่าวว่า  ที่ผ่านมาได้นำปัญหาที่สำคัญมาหารือเพื่อหาแนวทางพัฒนา โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เพราะเป็นนโยบายสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาในทุกด้าน นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือส่งเสริมการจัดการศึกษาร่วมกันในทุกระดับ ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถสานต่อการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เดลินิวส์ออนไลน์

โดย Editor
วันที่ 7 พฤษภาคม 2558
พิมพ์หน้านี้